การพัฒนาความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองประเภทกลอนสุภาพ โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับเกม Kahoot ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ชลธิชา เลิศวิสุทธินันท์
ศรีสมร พุ่มสะอาด

摘要

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองประเภทกลอนสุภาพ โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับเกม Kahoot เปรียบเทียบกับเกณฑ์ระดับคะแนนของโรงเรียนที่ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองประเภทกลอนสุภาพก่อนและหลังเป็นรายบุคคลและทั้งชั้น และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับเกม Kahoot พัฒนาความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองประเภทกลอนสุภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 3 แผน 2) แบบวัดความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองประเภทกลอนสุภาพ จำนวน 3 ข้อ และ 3) ประเด็นในการสัมภาษณ์กลุ่มเกี่ยวกับความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับเกม Kahoot จำนวน 6 ประเด็น ผู้วิจัยจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความสามารถก่อนและหลังเรียนโดยใช้สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนทุกคนมีความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองประเภทกลอนสุภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 60 โดยในภาพรวมอยู่ในระดับดีเยี่ยม 2) นักเรียนทุกคนมีคะแนนเพิ่มขึ้นหลังเรียน และนักเรียนทั้งชั้นมีความสามารถหลังเรียนสูงว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01 และ 3) นักเรียนมีความคิดเห็นว่า การใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับเกม Kahoot ช่วยให้นักเรียนได้รับความรู้และสามารถแต่งกลอนสุภาพได้ดีขึ้น และมีความสุขในการเรียนมากขึ้น

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

##submission.howToCite##
เลิศวิสุทธินันท์ ช., & พุ่มสะอาด ศ. (2020). การพัฒนาความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองประเภทกลอนสุภาพ โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับเกม Kahoot ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 . Journal of Humanities and Social Sciences, Rajapruk University, 6(3), 109–120. 取读于 从 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/248922
栏目
Articles

参考

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จรินทร์ งามแม้น. (2553). การพัฒนาแบบฝึกการเขียนคำประพันธ์กลอนสุภาพและกาพย์ยานี 11 สำหรับนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปัญสุธา ย่องลั่น. (2557). ผลของการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนกลอนสุภาพในวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่6โรงเรียนวัดโพธาราม อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

เปรมศรี ศรีพลราช และ สำราญ กำจัดภัย. (2556). การพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิคผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 3(1) มกราคม-เมษายน: 44.

พร้อมเพื่อน จันทร์นวล. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม Kahoot เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้วรรณคดีไทย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต.

พิกุล จีนปรีชา. (2554). ผลการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนกลอนสุภาพ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

อาภาภรณ์ ดิษฐเล็ก. (2560). สภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการสอนอ่านสะกดคำภาษาไทยของครู ในโรงเรียนระดับประถมศึกษา อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. รายงานวิจัย มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.