การยอมรับความเสี่ยง ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเงินส่วนบุคคลและพฤติกรรมการออมเพื่อการเกษียณอายุของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตจังหวัดปทุมธานี
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการยอมรับความเสี่ยง ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเงินส่วนบุคคล พฤติกรรมการออมเพื่อการเกษียณอายุ ความสัมพันธ์ระหว่างการยอมรับความเสี่ยงกับพฤติกรรมการออมเพื่อการเกษียณอายุและความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเงินส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการออมเพื่อการเกษียณอายุของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตจังหวัดปทุมธานี ทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างพนักงานบริษัทเอกชนจำนวน 400 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างยอมรับความเสี่ยงได้ในระดับปานกลางค่อนข้างสูง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเงินส่วนบุคคลอยู่ในระดับปานกลาง มีการออมเงินเพื่อการเกษียณอายุ 11-15 ครั้งต่อปี ออมเงินเฉลี่ยน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2,000 บาทต่อเดือน และพบว่าพนักงานที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันมีพฤติกรรมการออมเพื่อการเกษียณอายุแตกต่างกัน โดยความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเงินส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการออมเพื่อการเกษียณอายุ ส่วนการยอมรับความเสี่ยงไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออมเพื่อการเกษียณอายุ
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2559). โครงการการศึกษาวิเคราะห์ระดับสินทรัพย์การออมขั้นต่ำที่ผู้เกษียณอายุพึงมีสำหรับการประกันคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐาน (วัยสูงอายุ).
จันทะสุก ลาดสะอาด และคณะ (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออมส่วนบุคคลของคนวัยทำงาน ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 11(1): 126.
จิณณรัตน์ วราบุญนาคภิรมย์. (2558). การเตรียมความพร้อมการเกษียณอายุของพนักงาน บริษัท
ยูเซ็นโลจิสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ซานียะฮ์ ช่างวัฒนกุล. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออมของประชาชนจังหวัดสตูลสารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2558). การวางแผนการเงิน. ค้นเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562, จาก https://www.set.or.th/education/th/start/start_start.pdf
ธิดารัตน์ อติชาตนันท์ และ แพรวพรรณ มังคลา. (2554). การวางแผนการเงินเพื่อเตรียมการเกษียณอายุของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. งานวิจัยปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เนษพร นาคสีเหลือง และ สุภา ทองคง. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการออมเพื่อเตรียมความพร้อมการเกษียณอายุของพนักงานธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่. การประชุมวิชาการระดับชาติ RMUTT Global Business and Economics Conference (RTBEC 2558). คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
พิชามญชุ์ ศรีสุวรรณ. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารการเงินกับพฤติกรรมการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล ของลูกค้าธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6. กลุ่มด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2560). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2560. ค้นเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http://www.dop.go.th/download/knowledge/th1552463947-147_0.pdf
วันชัย แก้วสุมาลี. (2552). ความเชื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการเตรียมตัวก่อนการเกษียณอายุการทำงานของบุคคลทำงานวัยผู้ใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศุภวรรณ มณีพันธุ์วงศ์. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจออมของพนักงานธนาคารในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานแรงงานจังหวัดปทุมธานี. (2562). สถิติแรงงานจังหวัด. ค้นเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562, จาก https://pathumthani.mol.go.th/wp-content/uploads/sites/42/2019/11/srng
_3_62_snng_aerngngaan_sthiti_phuuwaangngaan.pdf
Solow Robert. (1956). A Contribution to the Theory of Economic Growth. Quarterly Journal of Economic, 70 (February).
Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row Publication.