ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่จำเป็นสำหรับบุคลากรตามความต้องการของ สถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมและเขตประกอบการอุตสาหกรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

จันจิรา ดีเลิศ

摘要

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่จำเป็นสำหรับบุคลากรตามความต้องการของสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมและเขตประกอบการอุตสาหกรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั่วไปกับทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่จำเป็นสำหรับบุคลากรตามความต้องการของสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมและเขตประกอบการอุตสาหกรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมและเขตประกอบการอุตสาหกรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 82 บริษัท โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน คือ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


ผลการการวิจัย พบว่า ทักษะด้านการซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์เป็นทักษะที่สำคัญที่สุด รองลงมา คือ ทักษะด้านการเป็นผู้ประสานงานระหว่างบุคลากรงานเทคโนโลยีสารสนเทศฝ่ายต่าง ๆ ในการสั่งงาน การควบคุม การตรวจสอบ และการวิเคราะห์ปัญหาในงานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากนี้ยังพบว่าที่ตั้ง ขนาด และสัญชาติของสถานประกอบการมีความสัมพันธ์กับทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่จำเป็นสำหรับบุคลากรตามความต้องการของสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมและเขตประกอบการอุตสาหกรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

##submission.howToCite##
ดีเลิศ จ. (2020). ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่จำเป็นสำหรับบุคลากรตามความต้องการของ สถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมและเขตประกอบการอุตสาหกรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. Journal of Humanities and Social Sciences, Rajapruk University, 6(3), 60–72. 取读于 从 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/248919
栏目
Articles

参考

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2554). กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ พ.ศ.2554-2563 ของประเทศไทย ICT 2020.

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2558). นิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทย. ค้นเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2560, จาก https://www.ieat.go.th/ieat-industry-port-factory/ieat-industrial-estates/ieat-industrial-estates-in-thailand

เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2556). การวิเคราะห์องค์ประกอบทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในศตวรรษที่ 21 สำหรับครู. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 6(3): 67-79.

จันจิรา ดีเลิศ. (2561). ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่จำเป็นสำหรับบุคลากรในสถานประกอบการ: กรณีศึกษาสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมและเขตประกอบการอุตสาหกรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 20(2): 89-96.

บุญช่วย บุญมี และคณะ. (2556). ความต้องการบัณฑิตปริญญาตรีด้านการจัดการเทคโนโลยีและธุรกิจการเกษตร. รายงานผลการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2551). ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่จำเป็นสำหรับบุคลากรตามความต้องการของสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม สังกัดการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. รายงานผลการวิจัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ภัทราจิตร แสงสว่าง และ ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์. (2558). “ความสัมฤทธิ์ผลในการจัดทำบัญชีครัวเรือนบ้านนาเรืองน้อย ตำบลนาเรือง อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี” ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 โดยคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

มณีโชติรส เกิดปัญญา และ สานนท์ ฉิมมณี. (2562). แนวทางการพัฒนานักศึกษาตามกรอบมาตรฐานสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า. 6(1): 73-80.

สุดารัตน์ วงศ์ยศ. (2550). ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่จำเป็นสำหรับผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล. รายงานผลการวิจัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ARIP Public Company Limited. (2560). ทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศ ความจำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิทัล. ค้นเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2562, จาก https://www. theeleader.com/digital-transformation

Frank Levy. (2010). How Technology Changes Demands for Human Skills. OECD Education Working Papers, No. 45, OECD Publishing.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3): 607-610.