อิทธิพลของคณะกรรมการ โครงสร้างผู้ถือหุ้น คุณภาพการสอบบัญชีและคุณภาพกำไร ที่มีผลต่อราคาตลาดหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: กรณีศึกษากลุ่มอุตสาหกรรมบริการและกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของคณะกรรมการ โครงสร้างผู้ถือหุ้น คุณภาพการสอบบัญชีและคุณภาพกำไรที่มีผลต่อราคาตลาดหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมบริการและกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บริษัทจดทะเบียนในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการและกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 190 บริษัท เก็บข้อมูลจากรายงานการเงินปี พ.ศ.2560 ประกอบด้วยขนาดคณะกรรมการ สัดส่วนคณะกรรมการที่ควบตำแหน่งฝ่ายบริหารเพื่อใช้วัดความรับผิดชอบของคณะกรรมการ สัดส่วนผู้ถือหุ้นสถาบันเพื่อแทนโครงสร้างผู้ถือหุ้น ค่าสอบบัญชี และผู้สอบบัญชีกลุ่ม Big4 เพื่อใช้วัดคุณภาพการสอบบัญชี และรายการคงค้างจากการดำเนินงานสุทธิเพื่อใช้วัดคุณภาพกำไร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
ผลการวิจัย พบว่า ขนาดคณะกรรมการมีค่าเฉลี่ย 10.25 คน สัดส่วนคณะกรรมการที่ควบตำแหน่งฝ่ายบริหารมีค่าเฉลี่ย 0.30 เท่าสัดส่วนผู้ถือหุ้นสถาบันมีค่าเฉลี่ย 0.34 เท่า ค่าสอบบัญชีเฉลี่ย 3.034 ล้านบาท ผู้สอบบัญชีมาจาก Big4 จำนวน 112 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 58.90 รายการคงค้างจากการดำเนินงานสุทธิมีค่าเฉลี่ย 0.07 เท่า และพบว่าสัดส่วนผู้ถือหุ้นสถาบันและค่าสอบบัญชีมีความสัมพันธ์ทิศทางเดียวกันกับราคาตลาดหุ้นสามัญในระดับต่ำ สัดส่วนผู้ถือหุ้นสถาบัน ค่าสอบบัญชีและขนาดบริษัทมีอิทธิพลต่อราคาตลาดหุ้นสามัญอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2560). ข้อมูลรายบริษัท/หลักทรัพย์. ค้นเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2561, จาก https://www.set.or.th/set/commonslookup.do.
นริสา เยาวลักษณ์ และ ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างสัดส่วนการถือหุ้นของผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่และนักลงทุนสถาบันกับผลการดำเนินงานของบริษัท ผลตอบแทนจากหลักทรัพย์และความแปรปรวนของผลตอบแทนจากหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), 4(2): 18-31.
นฤนาถ ศราภัยวานิช และคณะ. (2555). ความสัมพันธระหวางการสื่อสารระหวางบุคคล การรับรูถึงคุณภาพการสอบบัญชีและการใชบริการสอบบัญชีของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยอมในประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์, 7(2) เมษายน-กันยายน 2555: 51-52.
นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และ ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2552). การสอบบัญชี. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ทีพีเอ็นเพรส.
พิมพ์ชนา ภิรมรักษ์ และ ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์. (2560). ผลกระทบของการกำกับดูแลกิจการต่ออัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์และมูลค่าของธุรกิจของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มSET 50. งานประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 9: 872-880.
วณัฐณิชา ฟูเฟื่องสมบัติ. (2559). คุณภาพงานสอบบัญชีและการตกแต่งกำไร. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรพงศ์ แก้วคำ. (2557). ขนาดและองค์ประกอบคณะกรรมการบริษัทกับมูลค่าของกิจการ: หลักฐานจากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วรศักดิ์ ทุมมานนท์. (2543). คุณรู้จัก Creative accounting และคุณภาพกำไร แล้วหรือยัง?. กรุงเทพฯ: ไอโอนิค อินเตอร์ รีซอสเซส.
สถาบันพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน. (2556). ความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อความยั่งยืนขององค์กร.สถาบันธุรกิจเพื่อสังคมและสถาบันพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน.
สุดารัตน์ แจ้งใจดี และ สุภา ทองคง. (2560). คุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 9(2): 198-204.
อนันตชัย ยูรประถม. (2550). ต้นแนวคิดและทฤษฎีของ CSR. ค้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2563, จาก https://www.edfthai.org/csr/detail.asp?sid=2
Burinwattana,S., Tongkong, S., & Ngudgratoke, S. (2017). The mediating Effect of Dividend Payment Linking Corporate Governance and Earnings Quality: Empirical Evidence from Thai Listed Companies. International Journal of Applied Business and Economic Research, 15: 145-162.