ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ของผลกระทบของมลพิษทางอากาศที่มีต่อสุขภาพของผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ พื้นที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ธนัชชนม์ แจ้งขำ

摘要

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ของผลกระทบทางด้านสุขภาพอันเนื่องมาจากมลพิษทางอากาศของผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจในพื้นที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา โดยเฉลี่ยต่อคนต่อปีโดยวิธีการทุนมนุษย์ (Human Capital Approach) อาศัยวิธีการศึกษาแบบ Prevalence Approach การประเมินต้นทุนของการเจ็บป่วยของผู้ป่วยได้จำแนกเป็นต้นทุนทางตรง (Direct Cost) และต้นทุนทางอ้อม (Indirect Cost) โดยใช้ข้อมูลจากการเก็บแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เฉพาะกลุ่มผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ 3 กลุ่มโรคเท่านั้น คือ โรคหอบหืด (Asthma) โรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease: COPD) โรคหลอดลมอักเสบชนิดเฉียบพลัน (Acute bronchitis) จำนวน 100 ตัวอย่าง และข้อมูลการรักษาพยาบาลและค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจในปี พ.ศ.2561 ใช้ข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จากเวชระเบียนของโรงพยาบาลพิมาย จังหวัดนครราชสีมา และนำมาประเมินต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ ผลการวิจัย พบว่า ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ของผลกระทบของมลพิษทางอากาศที่มีต่อสุขภาพของผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ในพื้นที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ต้นทุนรวมมีมูลค่าสูงถึง 17,907.45 บาทต่อคนต่อปี แบ่งเป็นต้นทุนทางตรงของผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจจากการเจ็บป่วยเนื่องจากมลพิษทางอากาศทั้งหมดมีมูลค่าเท่ากับ 14,164.26 บาทต่อคนต่อปี คิดเป็นร้อยละ 79.10 ของต้นทุนรวม และต้นทุนทางอ้อมทั้งหมดมีมูลค่าเท่ากับ 3,743.19 บาทต่อคนต่อปี คิดเป็นร้อยละ 20.90 ของต้นทุนรวม

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

##submission.howToCite##
แจ้งขำ ธ. (2020). ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ของผลกระทบของมลพิษทางอากาศที่มีต่อสุขภาพของผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ พื้นที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. Journal of Humanities and Social Sciences, Rajapruk University, 6(2), 231–245. 取读于 从 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/246231
栏目
Articles

参考

กระทรวงแรงงาน. (2562). อัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ 2561. ค้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 จากhttp://www.mol.go.th/statistic_01.html.

จังหวัดนครราชสีมา. (2562). ปัญหามลพิษทางอากาศจังหวัดนครราชสีมา. ค้นเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2562, จาก http://www.nakhonratchasima.go.th/korat2528/index.php/

ผาณิต โกธรรม และคณะ (2557). ประเมินมูลค่าผลกระทบจากมลพิษ: กรณีพื้นที่อุตสาหกรรม ตำบลท่าตูม อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 10(1) ตุลาคม 2557-มีนาคม 2558.

ภาสกร ศรีทิพย์สุโข และคณะ. (2559). ต้นทุนความเจ็บป่วยการนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยเด็กเล็กที่มีภาวะหายใจ หอบเฉียบพลันมีเสียงวี้ด โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. ธรรมศาสตร์เวชสาร. 16(4), ตุลาคม-ธันวาคม 2559.

มูลนิธิเกษตรรักษ์สิ่งแวดล้อม (ประเทศไทย). (2561). การปลูกข้าวในประเทศไทย. ค้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http://www.aecth.org/upload/13823/Yg2qaxoQyg.pdf
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). รายได้เฉลี่ยต่อหัวรายจังหวัด. ค้นเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2562, จาก https://www.nesdb.go.th/main.php?filename
=gross_regional

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2562). ปริมาณการปลูกข้าวนาปีรายอำเภอ. ค้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/
prcaidata/files/majorrice_dis60.pdf

Alastair Rushworth, Duncan Lee et al. (2014). A spatiotemporal model for estimating the long-term effects of air pollution on respiratory hospital admissions in Greater London. Spatial and Spatio-temporal Epidemiology, 10: 29–38.

JICA. (1990). The Study of Medium to Long Term Improvement/Management Plan of Road and Road Transport in The Kingdom of Thailand. [n.p.: n.p.].

Mishan, E.J. (1971). Cost–Benefit Analysis. New York: Pracgar.

Ray, Robin. (1993). Cost-benefit Analysis. British Medical Journal, 307 (October): 924-926, 994.

Shaolong Feng Dan Gao et al. (2015). The health effects of ambientPM2.5 and potential mechanisms. Ecotoxicology and Environmental Safety, DOI 10.1016/j.ecoenv.2016.01.030.

Trung Quang Vo et al. (2019). Cost trend analysis of chronic obstructive pulmonary disease among Vietnamese patients: findings from Two provincial facilities 2015–2017. Journal of Clinical and Diagnostic Research, DOI: 10.7860/JCDR/2018/36668.11715.

World Health Organization. (2016). Ambient air pollution: a global assessment of exposure and burden of disease. Retrieved on 1st February, 2019, from http://apps.who.int/iris/bitstream/10665/250141/1/9789241511353-eng.pdf.

Yamane, Taro. (1997). Statistics an Introductory Analysis. 2nd ed. New York: Harper Row.