คุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร สังกัดหน่วยกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ร้อยตรีจิรศักดิ์ สระบัวทอง
เสาวนารถ เล็กเลอสินธุ์

摘要

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร สังกัดหน่วยกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการทหาร สังกัดหน่วยกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน จำนวน 270 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบบังเอิญ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)


ผลการวิจัย พบว่า ข้าราชการทหาร สังกัดหน่วยกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 8 ด้าน คือ ด้านความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน ด้านสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ ด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและเป็นธรรม ด้านการเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคม ด้านการบูรณาการทางสังคม ด้านการพัฒนาความสามารถของบุคคล และด้านธรรมนูญในองค์กร ผลการเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร สังกัดหน่วยกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า ระดับคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร สังกัดหน่วยกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ด้านอายุ ระดับการศึกษา สถานภาพการสมรส รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และประสบการณ์การทำงาน พบว่า ไม่แตกต่างกัน ส่วนชั้นยศมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

##submission.howToCite##
สระบัวทอง ร., & เล็กเลอสินธุ์ เ. (2020). คุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร สังกัดหน่วยกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน. Journal of Humanities and Social Sciences, Rajapruk University, 6(2), 165–181. 取读于 从 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/246225
栏目
Articles

参考

เกรียงศักดิ์ จักรทอง และ สมาน กลิ่นเกษร. (2557). คุณภาพชีวิตการปฏิบัติงานของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 3(2) กรกฎาคม – ธันวาคม 2557. ค้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2562, จาก http://psaku.org/storage/attachments/JIRGS_3-2(16).pdf

จีระพงษ์ ขุนพิลึก. (2551). ปัจจัยความพึงพอใจของครูที่มีต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน. นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2541). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์นิมิต.

ทัศนีย์ ชาติไทย. (2559). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. ค้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2562, จาก http://libdoc.dpu.ac.th/research/159565.pdf.

ธัญญา ผลอนันต์. (2546). การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคลแนวทางการสร้างความพึงพอใจแก่พนักงาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อินโนกราฟฟิกส์.

ปรียาภรณ์ อยู่คง. (2558). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการทหารในจังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ค้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2562, จาก https://www.car.chula.ac.th/display7.php?bib=b2128208.

รัฐสภาไทย. (2553). หน้าที่ทหาร. ค้นเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2562 จาก http://www.parliament.go.th/news/news_detail.php?prid=179419

ลัดดาวัลย์ โภควินท์ และ วิรัชดาวัลย์ สุวรรณมณี. (2553). เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วาริณี โพธิราช. (2558). คุณภาพชีวิตการทำงานของลูกจ้างในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.สาขาวิชาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิรัช สงวนวงศ์วาน. (2547). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: เอช เอ็น กรุ๊ป.

สมชาย อุทัยน้อย และ เสนาะ กลิ่นงาม. (2559). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการกรมการปกครองกับ ข้าราชการกรมส่งเสริมส่วนท้องถิ่น จังหวัดเพชรบุรี. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2: บูรณาการงานวิจัยใช้องค์ความรู้สู่ความยั่งยืน 17 มิถุนายน 2559 ณ วิทยาลัยนครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา.ค้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2562, จาก http://journal.nmc.ac.th/th/admin/Journal/2559Vol4No1_100.pdf.

Hackman, Richard J., & Suttle, Lloyd J. (1977). Improving Life at Work; Behavioral Science Approach to Organization Change. Santa Monica. California: Goodyear Publishing.

Walton, R. E. (1975). Quality of working life: What is it?. Slone Management Review, 15(1): 12-18.

Yamane, Taro. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row.