ทัศนคติของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรีที่มีต่อบรรจุภัณฑ์และอรรถประโยชน์ของบรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุอาหาร
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทัศนคติของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรีที่มีต่อบรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุอาหาร 2) ศึกษาทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่ออรรถประโยชน์ของบรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุอาหาร 3) เปรียบเทียบทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อบรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุอาหาร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 4) เปรียบเทียบทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่ออรรถประโยชน์ของบรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุอาหาร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามโดยใช้มาตราประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความสอดคล้องของเครื่องมือ โดยผู้เชี่ยวชาญ (IOC) เท่ากับ 0.60-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม 0.94 โดยการรวบรวมข้อมูลจากผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 400 คนประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)
ผลการวิจัย พบว่า 1) ทัศนคติของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรีที่มีต่อบรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุอาหาร โดยรวมอยู่ในระดับมากโดยเฉพาะประเด็นที่บรรจุภัณฑ์ที่ท่านเลือกใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีความทนทานในการใช้งานและมีการรับประกันคุณภาพของสินค้า 2) ทัศนคติของผู้บริโภคต่ออรรถประโยชน์ในการใช้บรรจุภัณฑ์อาหาร ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีทัศนคติต่ออรรถประโยชน์ในการใช้บรรจุภัณฑ์อาหารโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะด้านสถานที่ 3) การเปรียบเทียบระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับทัศนคติของผู้บริโภคในการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์บรรจุอาหาร พบว่า อาชีพ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส จำนวนครั้งในการประกอบอาหาร ภาชนะที่ใช้ในการถนอมอาหาร สถานที่เก็บอาหารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) การเปรียบเทียบระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับทัศนคติต่ออรรถประโยชน์ในการใช้บรรจุภัณฑ์อาหาร พบว่า เพศ อายุ ภาชนะที่ใช้ในการถนอมอาหาร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
product/4905.
บุษรา สร้อยระย้า. (2554). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมจากเส้นใยกล้วยสำหรับบรรจุผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป. รายงานผลการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
สิทธิกร แก้วราเขียว. (2554). ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อบรรจุภัณฑ์อาหารจากชานอ้อยในอำเภอเมืองเชียงใหม่. ค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุทธนู ศรีไสย์. (2551). สถิติประยุกต์สำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
สุขภาพและสิ่งแวดล้อมเร่งดีมานด์แพกเกจจิ้งทางเลือก พร้อมทางรอดบรรจุภัณฑ์พลาสติกต้องปรับตัวอย่างไร. (2561). ค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2561, จาก https://www.brandbuffet.in.th/2018/08/fest-innovation-packaging/.