การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมธุรกิจเครื่องสำอางสมุนไพรไทย สำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการเกี่ยวกับธุรกิจเครื่องสำอางสมุนไพรไทย พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมธุรกิจเครื่องสำอางสมุนไพรไทย และประเมินหลักสูตรฝึกอบรมธุรกิจเครื่องสำอางสมุนไพรไทย ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาความต้องการ โดยสำรวจข้อมูลพื้นฐานความต้องการของธุรกิจเครื่องสำอางสมุนไพรไทย และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ 11 คน คือ รัฐมนตรีที่กำหนดนโยบายกองทุนหมู่บ้าน 1 คน และผู้บริหารในธุรกิจเครื่องสำอางสมุนไพรไทย 10 คน 2) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม 3 ส่วน คือ สร้างโครงร่างหลักสูตร ประเมินโครงร่างหลักสูตร และทดลองใช้โครงร่างหลักสูตร และ 3) ประเมินหลักสูตรฝึกอบรม โดยประเมินจากตัวแทนวิสาหกิจชุมชน 30 ชุมชน ชุมชนละ 1 คน รวม 30 คน พบว่า 1) ความต้องการเกี่ยวกับธุรกิจเครื่องสำอางสมุนไพรไทย ได้แก่ ความรู้ด้านการวางแผนงบประมาณการกำกับติดตาม การดำเนินธุรกิจ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสมุนไพรในภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อนำมาเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางสมุนไพร การฝึกสอนเพื่อสร้างความเข้าใจ การทำการตลาด การออกแบบบรรจุภัณฑ์ รวมถึงช่องทาง การจัดจำหน่าย และพัฒนาสมาชิกในวิสาหกิจชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการสร้างศักยภาพให้แก่สมาชิก 2) การพัฒนาหลักสูตร คือ การดำเนินงานของธุรกิจเครื่องสำอางสมุนไพรไทย การตลาดเครื่องสำอางสมุนไพรไทย และการบริหารจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ 3) ผลการประเมิน พบว่า ผู้เข้าอบรมมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด คะแนนการเรียนรู้ของผู้อบรมหลังการอบรมสูงกว่าก่อนอบรม หลังสิ้นสุดการฝึกอบรม 8 สัปดาห์ มีพฤติกรรมการเรียนรู้เพิ่มขึ้นมากกว่าหลังการอบรม และมีผลลัพธ์จากการอบรมเพิ่มขึ้นมากกว่าหลังการอบรม
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2559). แผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560-2564. นนทบุรี.
จารุพงศ์ พลเดช. (2551). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. เอกสารอัดสำเนา.
จุฑามาศ ทันธิกุล และ ชลภัสสรณ์ สิทธิวรงค์ชัย. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กรของบริษัท การ์เมนท์ จำกัด. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. ปีที่ 2 มกราคม-ธันวาคม 2560: 54-66.
ทวิชชัย อุรัจฉัท และ ชุมพล รอดแจ่ม. (2562). ความรู้และความสามารถทางวิชาชีพของนักบัญชีตามมาตรฐานระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพในสถานประกอบการเขตอำเภอ
บางกรวย จังหวัดนนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 5(2) มิถุนายน – กันยายน 2562: 165-177.
เทียนทิพย์ เดียวกี่. (2561). สวทช. หนุนสร้างเครือข่ายพัฒนาสมุนไพรครบวงจร. ค้นเมื่อวันที่
8 พฤศจิกายน 2561, จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/42869-สวทช.หนุนสร้างเครือข่ายพัฒนาสมุนไพรครบวงจร.html
ธิรดา สุขธรรม. (2557). การควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยด้วย Chromatographic fingerprints. วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ, 62(194): 10-12.
ธีรกิติ นวรัตน ณ อยุธยา. (2552). การตลาดบริการแนวคิดและกลยุทธ์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ผู้จัดการออนไลน์. (2558). ทำไม? คนไทยไม่นิยมเครื่องสำอาง “สมุนไพรไทย.” ค้นเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2561, จาก https://mgronline.com/science/detail/9580000028819.
พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558. (2558). ราชกิจจานุเบกษา, 132(86ก): 5-25.
ภรภัทร จูตระกูล. (2561). กรมวิทย์ฯ ยกระดับมาตรฐานสมุนไพรไทย. ค้นเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2561, จาก http://www.thaihealth.or.th/Content/41624-A2.html.
รัชนี เพ็ชร์ช้าง และคณะ. (2559). การบริหารจัดการธุรกิจสมุนไพร เพื่อส่งเสริมอาชีพท้องถิ่น จังหวัดอุตรดิตถ์ แบบครบวงจร. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 8(1), 62-78.
วรรณพร พุทธภูมิพิทักษ์. (2556). หลักการตลาด. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยพิษณุโลก.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธรรมสาร.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2559). อย. ส่งเสริมการใช้สมุนไพรในเครื่องสำอาง มั่นใจกับ “FDA Thai Herb.” ค้นเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2561, จาก http://www.fda. moph.go.th/ Herb.pdf.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2557). การจัดทำเนื้อหาองค์ความรู้ SMEs ภายใต้งานพัฒนาศูนย์ข้อมูล SMEs Knowledge Center ปี 2556. กรุงเทพมหานคร.
Blanchard, P. N., & Thacker, J. W. (2007). Effective training: Systems, strategies, and practices. 3rd ed. Upper Saddle River, New Jersey: Pearson Prentice Hall.
Boone, L. E., & Kurtz, D. L. (2004). Contemporary marketing. 11th ed. Mason, Ohio: Thomson South-Western.
Chanchal, D., & Swarnlata, S. (2008). Novel approaches in herbal cosmetics. Journal of Cosmetic Dermatology, 7: 89-95.
Kirkpatrick, D. L. (1998). Evaluating training programs: The four levels. 2nd ed. San Francisco: Berrett-Koehler.
Kotler, P. (2003). Marketing management. 11th ed. Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall.
Kotler, P., & Armstrong, G. (1999). Principles of marketing. 8th ed. Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall.
Kotler, P., & Keller, K. L. (2012). Marketing management. 14th ed. Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall.
Nolker, H., & Schoenfeldt, E. (1980). Vocational training: Teaching, curriculum, planning. Grafenau Bavaria, Germany: Expert Verlag.
Saylor, J. G., Alexander, W. M., & Lewis, A. J. (1981). Curriculum planning for better teaching and learning. 4th ed. New York: Holt, Rinehart and Winston.