การสร้างแรงจูงใจในการเรียนวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีด้วยเบี้ยอรรถกรของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม)

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ศรีประภา ศรีหางวงษ์

摘要

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการสร้างแรงจูงใจในการเรียนวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีด้วยเบี้ยอรรถกร (ลูกปัด) ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) และ 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีก่อนเรียนและหลังเรียนจากการเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกรของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 และ 3/3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 62 คน ดำเนินการวิจัยโดยใช้แผนการวิจัยแบบการวิจัยเชิงทดลอง ใช้เวลาในการทดลอง 3 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 คาบ คาบละ 50 นาที รวม 6 คาบ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบสอบถามความคิดเห็นและความรู้สึกของนักเรียนที่มีต่อการได้รับเบี้ยอรรถกร (ลูกปัด) จากการตอบคำถามและร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า (Rating scale) ใช้การวิเคราะห์แบบอุปนัย (Analytic Induction) ที่ได้จากการสังเกต และวิเคราะห์ข้อมูลจากการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้สถิติทดสอบที (t-test for dependent Samples)


ผลการวิจัย พบว่า การสร้างแรงจูงใจด้วยเบี้ยอรรถกรเพื่อเป็นคะแนน ส่งผลให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นต่อการเรียน มีความรับผิดชอบต่อการเรียนมากขึ้น สนใจเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผู้สอนจัดขึ้น และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

##submission.howToCite##
ศรีหางวงษ์ ศ. (2020). การสร้างแรงจูงใจในการเรียนวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีด้วยเบี้ยอรรถกรของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม). Journal of Humanities and Social Sciences, Rajapruk University, 6(1), 53–65. 取读于 从 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/242251
栏目
Articles

参考

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

จรัสศรี พัวจินดาเนตร. (2560). หลักกิจกรรมพื้นฐานการงานอาชีพสำหรับครู. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นุชลี อุปภัย. (2556). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระสุวรรณ สุเมธปุญฺโญ (ขำโพธิ์ทัย). (2560). การจัดการเรียนรู้ โดยการเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกรเพื่อพัฒนาพฤติกรรมด้านระเบียบวินัยของนักเรียนในวิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดถอนสมอ จังหวัดสิงห์บุรี. ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เพ็ญประภา พุฒซ้อน. (2559). ผลการสร้างแรงจูงใจในการเรียนวิชาภาษาไทยโดยใช้เบี้ยอรรถกรของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ. วารสารออนไลน์บัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุกัญญา จิวัฒนาชวลิตกุล. (2557). ความสามารถในการบวกของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ โดยใช้ขั้นการเรียนรู้ของ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (สสวท.) ร่วมกับสื่อประสมและเบี้ยอรรถกร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

สุชาดา กลางสอน และ สุวรี ศิวะแพทย์. (2558). ผลของการเสริมแรงทางบวกต่อพฤติกรรมก่อกวนในชั้นเรียนของเด็กสมาธิสั้น. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 9(4) ตุลาคม - ธันวาคม 2558: 212 - 219.

อัชรา เอิบสุขศิริ. (2559). จิตวิทยาสำหรับครู. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Kazdin, Alan E. (1977). The Token Economy: A Review and Evaluation. New York: Plenum Press.

Walker, H.M.;& H. Hops. (1976). Use of Normative Peer Data as Standard for Evaluating Classroom Treatment Effect. Journal of Applied Behavior Analysis.