การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ภัทราภรณ์ ด้วงเรือง
นัทนิชา หาสุนทรี

摘要

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิต การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามลักษณะประชากรศาสตร์ผู้สูงอายุของเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 2) ศึกษาความแตกต่างระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาคุณภาพชีวิตกับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารเทศบาลนครนนทบุรี จำนวน 2 คน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) และการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุ จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการหาค่าความสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านการสนับสนุนทางสังคม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการจัดการสภาพแวดล้อม ด้านการมีส่วนร่วม และด้านการส่งเสริมสุขภาพ 2) ระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของเทศบาลนครนนทบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านสภาพแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ด้านจิตใจ และด้านร่างกาย 3) การพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) การสัมภาษณ์ผู้บริหารเทศบาลนครนนทบุรี พบว่า การพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านต่าง ๆ ของเทศบาลนครนนทบุรีส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ เมื่อผู้สูงอายุได้รับการพัฒนาแล้วจะทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

栏目
Articles

参考

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2561). สังคมสูงอายุ กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2561). จำนวนประชากรผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครนนทบุรี. ค้นเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2561, จาก http://www.dla.go.th/

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2557). คู่มือการดำเนินงานเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ กันยายน 2557. กรุงเทพฯ: สำนักกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

นงเยาว์ อรุณศิริวงศ์. (2550). การพัฒนาคุณภาพชีวิต. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. (2558). โครงการการพัฒนาระบบส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวมในเขตุเทศบาลนครนนทบุรี การวิจัยโครงการระยะที่1 “การสำรวจสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุในเขตุเทศบาลนครนนทบุรี”. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2561). การรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี
พ.ศ.2560 - พ.ศ.2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

Kasperson, R.E. and Breitbank. (1974). Participation, Decentralization and Advocacy Planning. Resource. Washington D.C.: Association of American Geographers.

Lawton, M.P. (1975). Planning and managing housing for older people. New York: Joh Wiley & sons.

Lisk, F. (1985). Popular Participation in Planning For Basic Needs. Great Britain: Black More Press.

Pender, N. J. (1996). Health promotion in nursing practice. 3rd. ed. Stamford, Conn: Appleton and Lange.

Power, M. J., & Bullinger, M. (2002). The universality of quality of life: An empirical approach using the WHOQOL. Netherlands: Springer Netherlands.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York. Harper and Row Publications.

UNESCO. (1978). Indicators of Environmental Quality and Quality of Life. Paris: UNESCO.

World Health Organization (WHO). (1993). Global Strategy for Health for All by the Year 2000. Geneva (Health for All) Series No. 6.

Wortman, C.B. (1984). Social support in the cancer patient. Conceptual and methodological issue. America Journal of the cancer society 53 May 1984: 25 – 34.