การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนโสตศึกษาในภาคกลาง

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ฐาปณี นาคภูมิ
ศรีสมร พุ่มสะอาด
กัลยรัตน์ หล่อมณีนพรัตน์

摘要

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนรู้ของครูระดับชั้นมัธยมศึกษาโรงเรียนโสตศึกษาในภาคกลาง 2) เปรียบเทียบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนรู้ของครูระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนโสตศึกษาในภาคกลาง และ 3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ของครูระดับชั้นมัธยมศึกษาโรงเรียนโสตศึกษาในภาคกลาง กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 19 คน และมัธยมศึกษาตอนปลาย 14 คน รวม 33 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติแมน-วิทนีย์ยู (Mann Whitney U) ในเปรียบเทียบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูผู้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนและมัธยมศึกษาตอนปลาย


ผลการวิจัย พบว่า 1) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูผู้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายในภาพรวมทั้งด้านการสืบค้นรวบรวมข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล การสร้างชิ้นงานหรือโครงงานและการนำเสนอผลงานอยู่ในระดับมาก และด้านการสืบค้นรวบรวมข้อมูล ครูมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายปฏิบัติมากที่สุดเป็นลำดับที่ 1 เช่นเดียวกัน 2) ครูมัธยมศึกษาตอนปลายใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทั้ง 5 ด้านมากกว่าครูมัธยมศึกษาตอนต้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ปัญหาและอุปสรรคจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนโสตศึกษาในภาคกลาง พบว่า (1) ครูบางคนไม่มีความรู้และทักษะเพียงพอไม่สามารถเข้าถึงโปรแกรมต่างได้ เนื่องจากบางคนมีอายุมากไม่มีความถนัดและสนใจมาก่อนและบางคนไม่ได้ศึกษาจบมาด้านนี้ (2) อุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่เอื้ออำนวยเช่น คอมพิวเตอร์มีน้อย เก่าและชำรุด สัญญาณอินเตอร์เน็ตไม่เพียงพอ (3) ปัญหาระหว่างครูและนักเรียน โดยเฉพาะการสื่อสาร โดยใช้ภาษามือบางครั้งเข้าใจกันยาก ครูบางคนยังไม่สามารถอธิบายคำภาษามือให้เข้าใจได้

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

##submission.howToCite##
นาคภูมิ ฐ., พุ่มสะอาด ศ., & หล่อมณีนพรัตน์ ก. (2019). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนโสตศึกษาในภาคกลาง. Journal of Humanities and Social Sciences, Rajapruk University, 5(supplement), 155–166. 取读于 从 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/231903
栏目
Articles

参考

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2558). บทบาทของครูในอนาคต: เตรียมผู้เรียนให้สอนตนเองได้ต่อไป. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 1(1): 3. ค้นเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2561, จาก https://www.tci- thaijo.org/index.php/rpu/article/view/112118.

ไพศาล จันทรังษี. (2561). การจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, ครบรอบ 12 ปี: 22 - 27. ค้นเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2561, จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/159603/115376.

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา กลุ่มสารสนเทศ สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. ค้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2561, จาก https://data.bopp-obec.info/emis/

วลัยรัตน์ โตวิกกัย. (2555). บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา. ค้นเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน2555, https://www.gotoknow.org/posts/242734

วีรวุฒิ พึ่งเจริญ. (2551). องค์ประกอบที่สัมพันธ์กับการยอมรับนวัตกรรมทางเทคโนโลยีการศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาโสตทัศนศึกษา ภาควิชาโสตทัศนศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุชาดา กีระนันท์. (2551). เทคโนโลยีสถิติ: ข้อมูลในระบบสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภัทรี ศรีนอก. (2552). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเรื่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษพื้นฐานที่ใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินช่วงชั้นที่ 2. สารนิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต (เทคโนโลยีการศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Education Management Information System, Information Subdivision, Policy and Basic Education Plan Office, Office of the Basic Education Commission. (2018). Office of Special Education Administration. Retrieved on 24th September 2018, from https://data.bopp-obec.info/emis/ (in Thai)

Jantarungsri, P. (2018). Digital Technology Management for Competitive Advantage among Private Higher Education Institutions in Thailand. Journal of Humanities and Social Sciences, Rajapruk University. 4 No supplement, 22 - 36. Retrieved on 31th December 2018, from https://www.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/159603/115376. (in Thai)

Keeranan, S. (2008). Information Technology Statistics: Information in the information system. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)

Phungcharoen, W. (2008). Factors related to the adoption of innovation in educational technology. Master of Education Thesis in Audiovisual Studies Department of Audiovisual Graduate School Chulalongkorn University. (in Thai)

Sinlarat, P. (2015). The role of teachers in the future: Prepare students to continue teaching themselves. Journal of Humanities and Social Sciences, Rajapruk University, 1(1), 1-8. Retrieved from https://www.tci- thaijo.org/index.php/
rpu/article/ view/112118. (in Thai)

Srinok, S. (2009). The Development of a computer Multimedia Instruction on Basic English Vocabulary for Hearing Impaired Level 2 Students. M.Ed. (Educational Technology). Graduate School, Srinakharinwirot University. (in Thai)

Towikkay, W. (2012). Role of Information Technology in education. Retrieved on 23th June 2012, from https://www.gotoknow.org/posts/242734 (in Thai)