ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการนิเทศภายในโรงเรียนของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยการบริหารในโรงเรียน 2) ศึกษาระดับการนิเทศภายในของผู้บริหารโรงเรียน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารในโรงเรียนกับการนิเทศภายในของผู้บริหารโรงเรียน และ 4) สร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการนิเทศภายในของผู้บริหารในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอน จำนวน 241 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สอบถามเกี่ยวกับปัจจัยการบริหารในโรงเรียนที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 และแบบสอบถามเกี่ยวกับการนิเทศภายในของผู้บริหารโรงเรียนที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยทางการบริหารในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) การนิเทศภายในของผู้บริหารในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยการบริหารกับการนิเทศภายในของผู้บริหารในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 มีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ปัจจัยด้านครู ปัจจัยด้านการจูงใจ ปัจจัยด้านทักษะการบริหารจัดการ ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การ และปัจจัยด้านการติดต่อสื่อสาร เป็นปัจจัยที่สามารถร่วมกันพยากรณ์การนิเทศภายในของผู้บริหารในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ได้ร้อยละ 86.00 โดยมีสมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ = -.164+.457(TEA)+.180(MOT)+ .172(MSK)+.143(OCU)+.083(COM) และสมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน = .477(TEA)+ .181(MOT)+.170(MSK)+.129(OCU)+.081(COM)
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
คีรีรัตน์ วรรณรัตน์. (2556). องค์การและการจัดการ (ฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.
ถนอมคิด วงศ์พิมสอน. (2551). ความต้องการนิเทศภายในของครูที่สอนในช่วงชั้นที่ 1 - 2 เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
ทิพย์ศิริ กาญจนวาสี และ ศิริชัย กาญจนวาสี. (2559). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: ทรีบีการพิมพ์และตรายาง จำกัด.
ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: แอล. ที. เพรส จํากัด.
นฤมล สุภโตษะ. (2550) .พฤติกรรมความเป็นผู้นำทางวิชาการของผูบริหารสถานศึกษาโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
วราวุธ แย้มชุติ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการบริหารกับประสิทธิผลการบริหารของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 3(3): (ตุลาคม 2560 – มกราคม 2561).
สรวิชญ์ ลำเลียง. (2554). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับการดำเนินงานของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนครราชสีมา. วิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
สุชาติ จรประดิษฐ์. (2557). อิทธิพลของการใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และคุณลักษณะของผู้ประกอบการ ที่มีต่อความสำเร็จทางการตลาดของสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (โอทอป) ระดับ 5 ดาว ในประเทศไทย . มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2552). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่:แนวคิดและทฤษฎี. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เสรี พงศ์พิศ. (2552). คู่มือทำวิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ: พลังปัญญา.
อารยา ตุ้มมี. (2560). ปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียนที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
Chiradejakun, K. (2007). Internal Supervision Handbook. Bangkok: Thara Aksorn Printing. (in Thai)
Chornpradit, S. (2014). Influence of using creative economy concepts Drive Factor Creative economy and features of entrepreneurs with marketing Success Of the 5-star One Tambon One Product (OTOP) product in Thailand. Bangkok University of Business. (in Thai)
Glickman Carl D. et al. (2009). Supervision and Instructional Leadership: A Developmental. 9th ed. Allyn & Bacon Educational Leadership.
Gordon, J. R. (1999). Organizational Behavior: A Diagnostic Approach. 6th ed. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
Kanjanawasri, T. and Kanchanawasri, S. (2016). Research methodology. Bangkok: Tree B Printing and Rubber Stamp Company Limited. (in Thai)
Lumliang, S. (2011). The study of the relationship between leadership and operations of Secondary school administrators Nakhon Ratchasima. Academic Administration Nakhon Ratchasima Rajabhat University. (in Thai)
Ministry of Education. (2008). Basic Education Curriculum BE 2551. Bangkok: Kurusapa Printing Ladphrao. (in Thai)
Phongphit, S. (2009). Small and Micro Community Enterprise Handbook. Bangkok: Palangpunya. (in Thai)
Runcharoen, T. (2007). Professionalism in organizing and managing educational reform era. Bangkok: LT Press Company Limited. (in Thai)
Saritwanich, S. (2009). Modern organizational behavior: concepts and theories 7th ed. Bangkok: Thammasat University Press. (in Thai)
Schein, Edgar H. (1992). Organizational Culture and Leadership. 3rd ed. San Framcis: Jossey-Bass.
Supatosa, N. (2007). Academic Leadership Behavior of School Administrators Under the Udon Thani Municipality Udon Thani Province. Master of Education Thesis Faculty of Management Studies Graduate School Udon Thani Rajabhat University. (in Thai)
Tummee, A. (2017). Administrative factors of schools affecting teachers' organizational commitment Under the Office of Secondary Educational Service Area 20. Thesis Master of Education Faculty of Management Studies Udon Thani Rajabhat University. (in Thai)
Wannarat, K. (2013). Organization and management (Unabridged edition). Bangkok: Pattana Suksa.
Wongphimson, T. (2008). Teachers' Needs for Internal Supervision on Child-Centered Instruction in Schools under The Offices of Udon Thani Educational Service Area. Master of Education Thesis, Rajabhat University Udon Thani. (in Thai)
Yamchuti, W. (2017). Relationship between administrative factors and administrative effectiveness of Private vocational education institutions Under the Office of the Vocational Education Commission Bangkok. Journal of Humanities and Social Sciences Rajapruk University, 3(3) (October 2017 - January 2018). (in Thai)