รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสำเร็จของโรงเรียนเอกชนไทย ในศตวรรษที่ 21
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพ กลไกองค์การแห่งการเรียนรู้ การรับรู้ความสามารถของตน และความสำเร็จของโรงเรียนเอกชนไทยในศตวรรษที่ 21 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพ กลไกองค์การแห่งการเรียนรู้ การรับรู้ความสามารถของตน และความสำเร็จของโรงเรียนฯ และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น อิทธิพลทางตรงและทางอ้อมที่มีต่อความสำเร็จของโรงเรียนเอกชนไทยในศตวรรษที่ 21 การวิจัยเป็นของความสำเร็จของโรงเรียน โดยผู้ทรงคุณวุฒิทางการบริหารการศึกษา จำนวน 8 คน ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อทดสอบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปร และตัวแบบในการวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยเลือกผู้อำนวยการโรงเรียนเอกชนที่มีขนาดจำนวนนักเรียนมากที่สุดในประเทศ จำนวน 420 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การสนทนากลุ่ม และแบบสอบถามโดยผ่านการตรวจสอบคุณภาพทางเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแบบเพียร์สัน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง
ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมตัวบ่งชี้ความสำเร็จของโรงเรียนเอกชนไทยในศตวรรษที่ 21 จากการสนทนากลุ่ม สอดคล้องกับ Texas Accountability Intervention System (2013) ประกอบด้วย ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ การใช้ข้อมูลวางแผน การมีภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผล การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน บรรยากาศโรงเรียน และคุณภาพครู 2) ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพ กลไกองค์การแห่งการเรียนรู้ การรับรู้ความสามารถของตน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสำเร็จของโรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) กลไกองค์การแห่งการเรียนรู้ การรับรู้ความสามารถของตน และภาวะผู้นำการเปลี่ยนสภาพ มีอิทธิพลทางตรงต่อความสำเร็จของโรงเรียนเอกชนไทยในศตวรรษที่ 21 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.544, 0.247 และ 0.027 ตามลำดับ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนสภาพ และกลไกองค์การแห่งการเรียนรู้มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความสำเร็จของโรงเรียนเอกชนไทยในศตวรรษที่ 21 โดยผ่านทางการรับรู้ความสามารถของตน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.049 และ 0.176 ตามลำดับ
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
สุชาดา อังศุจินดา. (2553). องค์ประกอบของกลยุทธ์การตลาดที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของโรงเรียนเอกชน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัย
คริสเตียน.
Angsujinda, S. (2010). The Components of Marketing Strategy Influencing Success of Private Schools. Doctoral Dissertation in Management, Christian University of Thailand. (in Thai)
Bandura, A. (1978). Self-Efficacy: The Exercise of Control. New York: W. H. Freeman.
Bass, B. M. & Avolio, B. J. (2004). Multifactor Leadership Questionnaire. Manual and Sampler Set. 3rd ed. Redwood City, California: Mindgarden.
Covey, S. R. (2004). The 7 Habits of Highly Effective People. New York: Free Press.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., and Anderson. R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. 7th ed. New Jersey: Prentice Hall, Upper Saddle River.
Popper, M. & Lipshitz, R. (2000). Organizational Learning Mechanisms, Culture and Feasibility. Thousand Oaks, California: Sage Publications.
Sanrattana, W. (2013). New Paradigm in Education: Attitude to the 21st Century Education. Bangkok: Tippayawisoot. (in Thai)
Texas Accountability Intervention System. (2013). Districts and Campuses Rated Improvement Required Districts Staged for Performance Based Monitoring. Texas: Texas Education Agency.