การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ณัฏฐวีร์ นุชเหลือบ
สุพรรษา ฉั่วตระกูล

摘要

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์ จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ วุฒิการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และระดับตำแหน่งงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ บุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ (Chi – Square) สถิติทดสอบที (t - test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลวิจัยพบว่า 1) ระดับความต้องการพัฒนาขีดความสามารถด้านคุณลักษณะอยู่ในระดับมากเป็นอันดับแรก แสดงให้เห็นว่าบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาขีดความสามารถด้านคุณลักษณะมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความรู้ และอันดับสุดท้ายคือ ด้านทักษะ 2) การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความต้องการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์กับสถานภาพส่วนบุคคลโดยภาพรวม พบว่าด้านเพศ วุฒิการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และระดับตำแหน่งงาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาขีดความสามารถกับสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาขีดความสามารถขึ้นอยู่กับสถานภาพส่วนบุคคล

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

栏目
Articles

参考

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ: บิสิเนสอาร์แอนด์ดี.

พิไลวรรณ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา. (2561). การประเมินสมรรถนะการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ด้านการเงินการคลังของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(3): 179.

วีระกาจ ดอกจันทร์. (2557). รูปแบบการพัฒนาผู้สอนงานในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์. ภาควิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ศรัณน์พัชร์ ไผ่พูล. (2559). สมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สถาบันยานยนต์ กระทรวงอุตสาหกรรม. (2555). แผนแม่บทอุตสาหกรรมยานยนต์ ปี 2555 - 2559. ค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2559, จาก http://www.thaiauto.or.th/2012/th/research/

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). ข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร. ค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2559, จาก http://leedx.in.th/leedx/public/service/85

Bloom, Benjamin A. (1956). Taxonomy of Education Objective Handbook I: Cognitive Domain. New York: David Mc Kay Company.
Competencies, Department of Labour Protection and Welfares (DLPW), Ministry of Labour. Journal of the Humanities and Social Sciences Rajapruek University, 4(3) (October-January). (in Thai)

Dokchan W. (2014). The Model for Developing Trainers in the Auto Part Manufacturing Factories. (Doctor’s Thesis). King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, Industrial Business and Human Resource Development. (in Thai)
from http://leedx.in.th/leedx/public/service/85
National Statistical Office. (2558). Population Census. Retrieved October 3rd, 2016,

Phaipoon, S. (2016). The operational performance of municipal personnel Kalasin Muang KalasinDistrict, Kalasin Province. Master’s thesis. Rajabhat Maha sarakham University. (in Thai)
Seneewong Na Ayuthaya, P. (2561). An Evaluation of Financial Officers’

Silpcharu, T. (2014). Researching and Statistical Analysis with SPSS and AMOS. Bangkok: Business R&D. (in Thai)
Thailand Automotive Institute Ministry of Industry. (2012). Master Plan for Automotive 2012-2016. Retrieved October 3rd, 2016, from http://www. thaiauto.or.th /2012/th/research/research-detail.asp?rsh_id=39