พฤติกรรมการเปิดรับชมดิจิทัลทีวีหลังการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลทีวีของประชาชนในจังหวัดร้อยเอ็ด
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับชมดิจิทัลทีวีหลังการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลทีวีของประชาชนในจังหวัดร้อยเอ็ด โดยผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่เป็นผู้ชมดิจิทัลทีวีในจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 400 คน เลือกใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็นตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาทำการวิเคราะห์ด้วยการแจกแจงความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า
ประชาชนในจังหวัดร้อยเอ็ดส่วนใหญ่จะรับชมดิจิทัลทีวีผ่านช่องทางจานดาวเทียมมากที่สุดจำนวน 185 คน คิดเป็นร้อยละ 46.30 โดยส่วนใหญ่ประชาชนจะรับชมที่บ้าน และมักจะรับชมในช่วงเวลาค่ำ 18.01 – 21.00 น. จำนวน 165 คน คิดเป็นร้อยละ 41.30 และประชาชนส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ในการรับชมรายการ คือ เพื่อทราบข่าวสารทั่วไป จำนวน 204 คน คิดเป็นร้อยละ 51.00 และประชาชนมักจะรับชมรายการทั่วไปและรายการวาไรตี้ จำนวน 138 คน คิดเป็นร้อยละ 34.50
ส่วนประเภทรายการเพื่อสาธารณะและชุมชน ประเภทรายการเด็ก เยาวชน และครอบครัว ประเภทรายการข่าวและสาระ ประเภทรายการทั่วไปแบบคมชัดปกติ (SD) และประเภทรายการทั่วไปแบบคมชัดสูง (HD) ประชาชนส่วนใหญ่จะไม่เจาะจงหรือไม่สนใจช่องใดช่องหนึ่ง
ผลจากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประชาชนในจังหวัดร้อยเอ็ดที่มีระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน จะมีวัตถุประสงค์ในการเปิดรับชมดิจิทัลทีวีที่แตกต่างกัน รวมไปถึงช่องทางในการเปิดรับชมดิจิทัลทีวีที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
เชษฐพัฒน์ สิริวัฒนตระการ. (2559). การสร้างความเข้าใจและศึกษาผลกระทบเกี่ยวกับการยุติโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกต่อผู้บริโภค จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 2(2): 66 – 77. ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2561, จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/112413/87600.
ปรมะ สตะเวทิน. (2539). การสื่อสารมวลชน:กระบวนการและทฤษฎี. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดการพิมพ์.
สำนักวิศวกรรมและเทคโนโลยีกระจายเสียงและโทรทัศน์. (2559). การยุติการออกอากาศแอนะล็อกทีวีของประเทศไทย [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2560, จาก https://www.facebook.com/Broadcast.Engineering.NBTC/photos/a.923218557740949.1073741828.923197744409697
Atkin, Charles K. (1973). Anticipated communication and mass media information seeking. New York: Free Press.
Broadcasting Technology and Engineering Bureau, Office of NBTC. (2017). Termination of Analogue Television System in Thailand. Retrieved February 21, 2017, from https://www.facebook.com/Broadcast.Engineering. NBTC/photos/a.923218557740949.1073741828.923197744409697/1018508084878662/?type=3&theater (in Thai)
Klapper, J. T. (1960). The effects of mass communication. New York: The Free Press.
Satawetin, P. (1996). Mass Communication : Process and Theory. Bangkok: Hanghunsuanjumkadkarnpim. (in Thai)
Siriwatthanatrakarn, C. (2016). Understanding and studying the effects of termination of analogue television system toward Roi Et consumers. Journal of Humanities and Social Sciences Rajapruk University, 2(2): 66-57. Retrieved on February, 20th, 2018, from https://www.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/
view/112413/87600 (in Thai)
Vasinsunthon, J. (2015). Media exposure and satisfaction in the situations changing with Digital TV of audience in 4 navigable province. Chiang Mai Rajabhat University.