การศึกษาแนวทางการใช้สื่อประกอบนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยเพื่อถ่ายทอดความรู้จากนิทรรศการให้กับคนพิการทางการเห็น

Main Article Content

ทักษิณา พิพิธกุล, รองศาสตราจารย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการใช้สื่อประกอบนิทรรศการทัศนศิลป์ร่วมสมัยสำหรับคนพิการทางการเห็น และ 2) นำเสนอแนวทางการใช้สื่อประกอบนิทรรศการทัศนศิลป์ร่วมสมัยให้กับพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ร่วมสมัยในประเทศไทย ในการถ่ายทอดความรู้ให้กับคนพิการทางการเห็น โดยมีวิธีการเก็บข้อมูลจากเอกสาร การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญงานด้านพิพิธภัณฑ์และผู้เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ มีกลุ่มตัวอย่าง คือ พิพิธภัณฑ์ศิลปะ หอศิลป์ร่วมสมัย งานนิทรรศการในประเทศไทยและต่างประเทศที่มีความเกี่ยวข้องกับคนพิการทางการเห็น


ผลการวิจัยพบว่า การสื่อความรู้จากนิทรรศการให้กับคนพิการทางการเห็นต้องใช้สื่อประกอบนิทรรศการผ่านการรับรู้ทางประสาทสัมผัสด้านอื่นที่เพิ่มเติมจากการเห็น อาทิ 1) สื่อทางการสัมผัสซึ่งเป็นช่องทางการรับรู้ที่พื้นฐานที่สุดและมีการเสื่อมสมรรถนะยากที่สุด สื่อทางการสัมผัสเป็นสื่อที่ทำให้คนพิการทางการเห็นเห็นภาพของวัตถุชัดเจนที่สุด โดยเฉพาะการสัมผัสวัตถุขนาดเท่าจริง 2) สื่อทางการได้ยินเป็นการรับรู้ข้อมูลจากอุปกรณ์สื่อเสียงในรูปแบบต่าง ๆ 3) สื่อทางการได้กลิ่นเป็นการรับรู้สภาพธรรมชาติของวัตถุ พื้นที่และสภาพแวดล้อม 4) สื่อทางการเห็น (สำหรับคนเห็นเลือนราง) เป็นการใช้สื่อในรูปแบบที่มีความคล้ายคลึงกับสื่อสำหรับคนมองเห็น หากแต่ต้องมีการทำให้ตัวอักษรและข้อมูลภาพมีขนาดใหญ่และชัดเจน และ 5) สื่อกิจกรรมเป็นสื่อที่สามารถใช้สื่อหลากหลายรูปแบบเข้ามาประกอบกัน การใช้สื่อเหล่านี้ร่วมกันจะสามารถช่วยกระตุ้นให้เกิดการรับรู้ในด้านต่าง ๆ และช่วยให้คนพิการทางการเห็นสามารถประมวลผลเกิดเป็นข้อมูลหรือภาพในใจขึ้นมาได้

Article Details

How to Cite
พิพิธกุล ท. (2018). การศึกษาแนวทางการใช้สื่อประกอบนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยเพื่อถ่ายทอดความรู้จากนิทรรศการให้กับคนพิการทางการเห็น. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(2), 27–37. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/144129
บท
บทความวิจัย

References

โกสุม สายใจ. (2560). พุทธศิลป์กับการจัดการความรู้. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 3(1): 1-10. ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2561. จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/112524/87647

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2555). การช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกอย่างสมเหตุสมผลและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักศึกษาพิการ. เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงาน. ค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2560. จาก http://www.mua.go.th/users/des/information/Training%20for%20students %20with %20disabilities/Reasonable%20Accommo

วันเพ็ญ (นามสมมุติ). (5 สิงหาคม 2560). สัมภาษณ์. ผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ซึ่งเป็นคนพิการทางการเห็น.

องค์อร วงษาลังการ. (2553). การใช้ตัวอักษรและสัญลักษณ์ในงานออกแบบนิเทศศิลป์เพื่อรองรับผู้พิการทางสายตาประเภทเห็นเลือนราง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. ค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2560. จาก http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000005542

Hyungsook Kim. (2007). Art education and art museums: Visitors learning. The SNU Journal of Education Research, 17(6): 135 - 158. Retrieved September 18, 2015, from s-space.snu.ac.kr/bitstream/10371/70685/1/ vol17_6.pdf

Horley Dickey, M. (2017). Interview. Curator of Public Programmes. Tate Modern, London.

Office of The Higher Education Commission. (2012). Reasonable Accommodations and Assistive Technology Accommodating Students with Disabilities in Higher Education. Training Material of Human Resources Development Course Related to Educational Management for Disabilities in Higher Education. Retrieved February 6, 2017, from http://www.mua.go.th /users/des/information/Training%20for%20students%20with %20disabilities/Reasonable%20Accommo (in Thai)

Wanpen (Pseudonym). (August 5, 2017). Interview. Visually Impaired Visitor. (In Thai)

Saichai, K. (2017). Buddhism Art and Knowledge Management. Journal of Humanities and Social, Science, Rajapruk University, 3(1): 1-10. Retrieved April 20, 2018, from https://www.tci-thaijo.org/index.php/ rpu/article/view/112524/87647 (In Thai)

Wongsalangkarn, O. (2010). Application of typography and symbols in visual communication design for people with the visual disabilities; Low vision case. A Thesis for the Degree Master of Fine Arts. Department of Visual Communication Design Graduate School Silpakorn University. Retrieved August 9, 2017, from http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp? id=0000005542 (in Thai)