ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการบริหารกับประสิทธิผลการบริหารของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

วราวุธ แย้มชุติ

摘要

 


 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยทางการบริหารของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กรุงเทพมหานคร และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการบริหารกับประสิทธิผลการบริหารของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กรุงเทพมหานคร ทาการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่ากับครูผู้สอนในสถานศึกษาอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2559 แบ่งออกเป็นแต่ละเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 เขต 2 และเขต 3 ได้ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 67 โรงเรียน ครูผู้สอนจำนวน 400 คน นำแบบสอบให้ผู้เชี่ยวชาญที่เลือกเจาะจง จำนวน 3 ท่าน ได้ค่า IOC เท่ากับ 1.00 จากนั้นทำการทดสอบค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.97 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยวิธีของเพียร์สัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05


ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับปัจจัยทางการบริหารของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนของผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ปัจจัยด้านลักษณะสภาพแวดล้อม รองลงมา คือ ปัจจัยด้านลักษณะบุคคล และลำดับสุดท้าย คือ ปัจจัยด้านลักษณะนโยบายการบริหารและการปฏิบัติ ตามลำดับ 2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับระดับประสิทธิผลการบริหารของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กรุงเทพมหานคร พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีพันธกิจชัดเจน รองลงมา คือ ด้านความเป็นผู้นาทางวิชาการ และลำดับสุดท้าย คือ ด้านโอกาสและเวลาในการเรียนรู้ ตามลำดับ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการบริหารกับประสิทธิผลการบริหารของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กรุงเทพมหานคร พบว่าปัจจัยทางการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับประสิทธิผลการบริหารของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

##submission.howToCite##
แย้มชุติ ว. (2018). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการบริหารกับประสิทธิผลการบริหารของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร. Journal of Humanities and Social Sciences, Rajapruk University, 3(3), 118–129. 取读于 从 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/112632
栏目
Articles

参考

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2543). พรมแดนความรู้ด้านการวิจัยและสถิติ. ชลบุรี: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจมหาวิทยาลัยบูรพา.

นฤทธิ์ แสงสุขสว่าง. (2552). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การ ของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สัมฤทธิ์ กางเพ็ง (2551). ปัจจัยทางการบริหารที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน: การพัฒนาและการตรวจสอบความตรงของตัวแบบ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุดาพร ทองสวัสดิ์ และ สุจิตรา จรจิตร. (2556). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษา. บทความวิจัย เสนอในการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 4, 10 พฤษภาคม 2556: 338 –348.

Bennis, W. G. (1989). Managing the dream: Leadership in the 21st century. Journal of Organizational Change Management, 2, 7.

Gillham, David P. (2000). Professional Staff and Parent Perceptions of School Effectiveness of Seventh –day Adventist K –Schools in the North America Division. Retrieved July 6, 2016, from

Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (2005). Educational Administration Theory, Research, and Practice. New York McGraw-Hill. http://www.thailis.uni.net.th/dao/ printarticles.nsp.

Kangpheng s. (2004). Administrative factors affecting school effectiveness : model development and validation. A thesis for the degree of doctor of education in educational administration, Khonkaen University. (In Thai).

Robbins, Stephen P. (1997). Managing Today!. New Jersey :Prentic-Hall.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60

Seangsukswang. N. (2005). Analysis of Factors Affecting Organizational Effectiveness Of schools in Bangkok. Bangkok: Chulalongkorn University. (In Thai)

Steers (1977). R.M. Antecedents and outcomes of organizational commitment. Administrative Science Quarterly.

Thongsawat, S. and Jornichit, S. (2013). Synthesis of research on influencing factors. Effectiveness of school administration. Research papers presented at the 4th National and International Hat Yai Conference, May 10, 2013: 338 -348. (In Thai)

Wiraschai. N. (2000). Boundary knowledge of research and statistics. Chonburi: Burapha University College of Public Administration. (In Thai)