การยอมรับบัตรเครดิตธนาคารออมสินของลูกค้าธนาคารออมสิน ในเขตกรุงเทพมหานคร
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการยอมรับบัตรเครดิตธนาคารออมสินของลูกค้าธนาคารออมสินในเขตกรุงเทพมหานคร และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับกระบวนการยอมรับในแต่ละขั้น กลุ่มตัวอย่าง คือ ลูกค้าธนาคารในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป และมีรายได้ต่อเดือน 15,000 บาท ขึ้นไป จำนวน 385 คน วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ การทดสอบไคสแควร์ และการทดสอบหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุ 20 - 34 ปี มีรายได้ต่อเดือน 15,000 - 30,000 บาท อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ใช้บริการประเภทเงินฝาก อายุการเป็นลูกค้ามากกว่า 10 ปี ขึ้นไป และมีจำนวนบัตรเครดิตธนาคารอื่นที่ถือ 5 ใบ ขึ้นไป กระบวนการยอมรับบัตรเครดิตธนาคารออมสิน พบว่า มีกลุ่มตัวอย่างในขั้นรู้จัก ขั้นสนใจ ขั้นประเมิน ขั้นทดลอง และขั้นยอมรับ คิดเป็นร้อยละ 65.20 41.60 38.40 19.00 16.10 ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับกระบวนการยอมรับ พบว่า จำนวนบัตรเครดิตธนาคารอื่นที่ถือมีความสัมพันธ์กับกระบวนการยอมรับในขั้นรู้จัก ขั้นสนใจ และขั้นทดลอง โดยมีค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) เท่ากับ 0.242 0.138 0.080 ตามลำดับ สำหรับข้อเสนอแนะ ธนาคารควรเพิ่มช่องทางในการสมัครใช้บริการบัตรเครดิต อาทิ การออกบูธรับสมัครบัตรเครดิตในงานมหกรรม ห้างสรรพสินค้า และแหล่งชุมชน เป็นต้น
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2559). จำนวนบัตรพลาสติก. ค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2559, จาก http://www.bot.or.th.