ภูมิหลังและบทบาทครูจิตอาสากับการพัฒนาเด็กชาวเขา อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิหลังการเข้าสู่การทำงานเป็นครูจิตอาสา แรงบันดาลใจ และบทบาทของครูจิตอาสากับการพัฒนาเด็กชาวเขา อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง โดยเป็นครูจิตอาสาโรงเรียนแม่เหว่ยศึกษาและโรงเรียนบ้านดอกไม้สด จานวน 19 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยเข้าไปอยู่ในชุมชน การสัมภาษณ์เชิงลึก และใช้วิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนา คือ หาค่าความถี่ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่าครูจิตอาสาทั้ง 19 คน เป็นเพศหญิงจำนวน 14 คน เพศชายจำนวน 5 คน อายุ ะหว่าง 19-65 ปี มีสถานภาพสมรสจำนวน 14 คน และมีสถานภาพโสดจำนวน 5 คน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ ระดับการศึกษาของครูประกอบด้วย สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 6 คน กำลังศึกษาต่อปริญญาตรีจำนวน 9 คน และสาเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวน 4 คน ครูจิตอาสาส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่ หรือเคยทำงานกับบาทหลวงมาก่อน โดยครูทุกคนได้รับโอกาสในการศึกษาต่อจากการสนับสนุนของบาทหลวง แรงบันดาลใจเกิดจากการมีจิตสำนึก และความผูกพันที่อยากจะพัฒนาให้ความช่วยเหลือเด็ก ๆ บนดอยที่ขาดโอกาสให้ได้รับการศึกษาที่ดี และต้องการพัฒนาหมู่บ้าน ชุมชน หรือบ้านเกิดของตนเอง ครูจิตอาสาได้รับค่าตอบแทนจากบาทหลวงตั้งแต่ 3,600 - 8,000 บาทต่อเดือน บทบาทของครูจิตอาสาในการพัฒนาเด็กชาวเขาประกอบด้วยการพัฒนาด้านร่างกาย โดยการจัดอาหารกลางวันให้เด็กและมีการออกกำลังกายในลักษณะกิจกรรมหลายรูปแบบ การพัฒนาด้านอารมณ์ จิตใจ ครูสร้างกิจกรรมในชั่วโมงที่สอนในชั้นเรียนและได้ปลูกฝังจิตสำนึกรักบ้านเกิด การพัฒนาด้านสังคม ครูปลูกฝังด้านคุณธรรมจริยธรรม การมีสัมมาคารวะและการรู้จักช่วยเหลือตนเอง การพัฒนาด้านสติปัญญา ครูจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับการเรียนการสอนและส่งเสริมการแข่งขันด้านวิชาการ
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
ณรงค์ ใจหาญ. (2541). สภาพความเป็นอยู่และปัญหาของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง อำเภอท่าสองยางจังหวัดตาก. รายงานการวิจัย ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง) สถานภาพ การปกครอง การดารงชีวิต. ตาก: โครงการวิจัยประเมินสถานภาพองค์ความรู้ โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
นงนุช พิมพ์ดี. (2546). การจัดการศึกษาสาหรับนักเรียนชาวเขา: กรณีศึกษานักเรียนชาวเขาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์.
พรรณิภา พลายจั่น. (2550). การศึกษาความคาดหวังของผู้ปกครองในการพัฒนาเด็กปฐมวัยและเด็กประถมศึกษาของโรงเรียนจรวยพรวิทยา เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
เพลินพิณ ทัพมงคล. (2556). พฤติกรรมภาวะผู้นาของผู้บริหารและชุมชนทางวิชาชีพของครูที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานสอนในชั้นเรียนของครูโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ภาควิชาการศึกษา. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พนิดา ศรนพรัตน์. (15 ธันวาคม 2558). สัมภาษณ์. ครูใหญ่. โรงเรียนบ้านดอกไม้สด.
มนัสสา ชินูปการณ์พงศ์. (2551). รายงานการวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างทัศนติต่อการสื่อสารการตลาดด้วยจิตสานึกสาธารณะกับการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
รัตนา มาแป้น. (2549). การศึกษาเปรียบเทียบความเอื้อเฟื้อระหว่างเด็ก วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาจิตวิทยาพัฒนาการ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สร้างชาติสิริ จารุวณฺโณ (สุวรรณพุทธ), พระภิกษุ. (2554). การศึกษาเปรียบเทียบหลักการเชื่อใน
พระพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาคริสต์ตามคติของนักบุญออเกิสติน. วิทยานิพนธ์
ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง
กรณราชวิทยาลัย.
สุคนธ์ธา เส็งเจริญ. (2556). การวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพล
ต่อจิตสานึกสาธารณะในนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปริญญา
นิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร.
บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมศรี วังวงษ์. (7 กันยายน 2558). สัมภาษณ์. ครูใหญ่. โรงเรียนแม่เหว่ยศึกษา.
อัครสังฆมณฑลกรุงเทพ. (2551). คาสอนพระศาสนจักรคาทอลิก. ค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2559, จาก
http://www.catholic.or.th/archive/catechism/.