ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกซื้อรถยนต์ปิกอัพของผู้บริโภค
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยในการตัดสินใจซื้อรถยนต์ปิกอัพของผู้บริโภค 2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการของผู้บริโภคในการเลือกซื้อรถยนต์
ปิกอัพ กับสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยในการเลือกซื้อรถยนต์ปิกอัพของผู้บริโภคจำแนก
ตามสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ใช้รถยนต์ปิกอัพในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ใช้รถยนต์ปิกอัพในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 384 ราย ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็นโดยใช้การสุ่มแบบเจาะจง ลักษณะของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม เก็บรวมรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์โดยให้ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นผู้กรอกข้อมูลเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคสแควร์ t-test การวิเคราะห์ความแปรปวนทางเดียว (One-way ANOVA) และวิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี Scheffe’s Analysis กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
ผลการวิจัย พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 25 - 35 ปี รายได้ต่อเดือน 20,000 - 40,000 บาท ประกอบอาชีพเป็นพนักงานเอกชน/รับจ้าง พฤติกรรมที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ คือ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นพาหนะสำหรับเดินทางในชีวิตประจำวัน ระดับราคาของรถยนต์ปิกอัพที่สามารถซื้อได้คือ 6-8 แสนบาท รูปแบบการชาระเงินส่วนใหญ่คือผ่อนชาระผ่านธนาคาร หาข้อมูลการซื้อรถยนต์ปิกอัพจากอินเทอร์เน็ต ใช้เวลาตัดสินใจซื้อ 1 - 3 เดือน ลักษณะรถยนต์ปิกอัพที่สนใจเลือกซื้อส่วนใหญ่เป็นประเภท 4 ประตู ยกสูงขับเคลื่อน 2 ล้อ เกียร์ธรรมดา ความจุเครื่องยนต์ 2,500 ซีซี ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสาคัญกับปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดโดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการในการเลือกซื้อรถยนต์ปิกอัพกับสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ความต้องการเลือกซื้อรถยนต์ปิกอัพขึ้นอยู่กับสถานภาพด้านเพศ อายุรายได้ต่อเดือน และอาชีพหลัก ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อรถยนต์ปิกอัพ เมื่อจำแนกตามสถานภาพทั่วไปด้านเพศ ด้านรายได้ ด้านอาชีพหลัก พบว่า ภาพรวมมีความแตกต่างกัน และด้านอายุ พบว่า ภาพรวมไม่มีความแตกต่างกัน
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
ธัญญารัตน์ ไชยวันดี. (2555). การพยากรณ์แนวโน้มมูลค่าการส่งออกรถยนต์ และชิ้นส่วนของไทย.สารนิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
บงกช กิตติสมพันธ์. (2557). จุดเปลี่ยนอุตสาหกรรมในวิกฤตพลังงาน. สำนักวิเคราะห์และติดตามประเมินผล องค์การบริการจัดการก๊าซเรือนกระจก.
ปริญญา นรพักตร์. (2552). ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อรถยนต์ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง (NGV) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล . สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พิตะวัน รัตนพงศ์. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อรถยนต์ยี่ห้อต่าง ๆ ของประชาชนในอำเภอ หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2556). WHOLE SALES RECORD FOR JANUARYDECEMBER 2005-2012. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2557, http://www.fti.or.th
สิริรัตน์ ปิติพัฒนพงศ์ และ ไกรชิต สุตะเมือง. (2557). ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อรถยนต์ที่ผลิตมาจากประเทศจีนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต.
EIA U.S. Energy Information Administration. Independent Statistics and Analysis Petroleum & Other Liquids. (2014). cited 2014 Dec 5. http://www.eia.gov/petroleum/data.cfm
TOYOTA PR Database. (2557). สรุปยอดขายรถยนต์. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2557. http://www.toyota.co.th/prdatabase