ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกทำประกันวินาศภัยของผู้ประกอบการธุรกิจ อุตสาหกรรม

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ภูดิศ จันเปียง
จิรวัฒน์ โชติช่วง
สุนีย์ วรรธนโกมล

摘要

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการเลือกทำประกันวินาศภัยของผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม ในด้านส่วนผสมทางการตลาด (4P’s) ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม จำนวน 400 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-Square, t-test, และการวิเคราะห์ความแปรปวนทางเดียว (One-way ANOVA) กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีที่ตั้งสถานประกอบการอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประกอบธุรกิจประเภทธุรกิจสิ่งทอ/เครื่องนุ่งห่ม มีจานวนพนักงานไม่เกิน 50 คน และมีลักษณะธุรกิจหลักเป็นธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ระดับปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อประกันวินาศภัยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมในการซื้อประกันวินาศภัยของผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม พบว่า พฤติกรรมในการซื้อประกันวินาศภัยของผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมขึ้นอยู่กับสถานภาพทั่วไปของธุรกิจ ด้านที่ตั้งสถานประกอบการ 4 รายการ ด้านจานวนพนักงาน 1 รายการ และด้านลักษณะธุรกิจหลัก 3 รายการ ส่วนการเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการเลือกทำประกันวินาศภัยของผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม พบว่าด้านที่ตั้งสถานประกอบการเมื่อเปรียบเทียบเป็นรายข้อพบ 30 รายการ ด้านประเภทธุรกิจอุตสาหกรรมพบ 17 รายการ ด้านจำนวนพนักงานพบ 5 รายการ และด้านลักษณะธุรกิจหลักพบ 2 รายการ

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

##submission.howToCite##
จันเปียง ภ., โชติช่วง จ., & วรรธนโกมล ส. (2017). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกทำประกันวินาศภัยของผู้ประกอบการธุรกิจ อุตสาหกรรม. Journal of Humanities and Social Sciences, Rajapruk University, 3(1), 49–59. 取读于 从 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/112534
栏目
Articles

参考

กนกกร แสนสุข และ วรวัฒน์ คงสวัสดิ์. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้บริโภคตัดสินใจไม่ทำประกันชีวิตกรณีศึกษาในเขตจังหวัดนครนายก. ปริญญานิพนธ์ อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต ภาควิชาการจัดการอุตสาหกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

กาญจนาภรณ์ หาญประกอบสุข. (2555). ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดที่มีผลต่อการทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเนชั่น.

จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช. (2558). ก.อุตฯ ประมวลสถิติไฟไหม้โรงงานย้อนหลัง 4 ปีวางมาตรการป้องกันเข้ม เผยเหตุไฟฟ้าลัดวงจรครองแชมป์สั่งโรงงานเสี่ยงสูงรายงานผลตรวจประเมินทุก 5 ปี โรงงานเก่าทุก 2 ปี หลังพบยิ่งเก่ายิ่งเสี่ยง!. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2559, http://www.bizfocusmagazine.com/biz-variety-news-5/2008-ก-อุตฯ-ประมวลสถิติไฟไหม้โรงงานย้อนหลัง-4-ปีวางมาตรการป้องกันเข้ม-เผยเหตุไฟฟ้าลัดวงจรครองแชมป์. html#.VqXYEFKiWRg

ประเวช องอาจสิทธิกุล. (2557). สารจากเลขาธิการ. Insurance Circle, ปีที่ 3 ฉบับที่ 9, หน้า 1-4.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.\

เสาวรส พิกุลแก้ว และ วนิดา อาสารอด. (2557). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อบริการประกันภัยรถยนต์กับบริษัทประกันภัยของผู้ใช้รถยนต์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี. ปริญญานิพนธ์อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต ภาควิชาการจัดการอุตสาหกรรมบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย. (2557). สถิติธุรกิจประกันวินาศภัยรายปีย้อนหลัง. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2559, http://www1.oic.or.th/th/statistics/yearly.php