พฤติกรรมการบริโภคอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ดของประชาชนในจังหวัดนนทบุรี
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ดของประชาชนในเขตจังหวัดนนทบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ด ของประชาชน จังหวัดนนทบุรี จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และสถานภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนจังหวัดนนทบุรี 400 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard deviation) และสถิติเชิงอนุมาน (Inference Statistic) ได้แก่ ไคสแควร์ Chi - square Test (x²) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มตัวแปร ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการบริโภคอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ดของประชาชนจังหวัดนนทบุรี พบว่า ส่วนใหญ่ใช้บริการที่ร้าน เค เอฟ ซี (KFC) จานวน 1 -3 ครั้งต่อเดือน เพราะมีความชอบส่วนตัว นอกจากนี้พบว่าอาหารประเภทพิซซ่า เป็นที่นิยมจัดเลี้ยงสังสรรค์ในกลุ่มเพื่อน ค่าใช้จ่ายในการบริโภค 201 –300 บาทต่อครั้ง ส่วนใหญ่รับประทานที่ร้าน ในเวลาช่วงเย็น ที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า สถานภาพบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน สถานภาพสมรส มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารฟาสต์ฟู้ด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2549). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วิสิทธิ์พัฒนา.
สมฤดี วีระพงษ์. (2535). พฤติกรรมการบริโภคอาหารด่วนทันใจของนักเรียนชันมัธยมศึกษาปีที่ 5
โรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร. (ระบบออนไลน์) แหล่งที่มาhttp://www.thaithesis. org/ detail. (11 มกราคม 2554)
เสรี วงศ์มณฑา. (2542). การตลาดเชิงปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ธีรฟิล์มและไซเท็กซ์.
สิริรัตน์ ร่วมสุข.(2552). พฤติกรรมการบริโภคอาหารฟาสต์ฟู้ดของเยาวชนในจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตร์บัณฑิต.คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.