ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร โดยใช้การจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบ 5E ที่มีต่อความสามารถด้านทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ณรงค์ศักดิ์ ขาวสุริยจันทร์

摘要

 


 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติและเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนศรียาภัย อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E ซึ่งมี 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การสร้างความสนใจ (Engagement) ขั้นที่ 2 การสำรวจและค้นคว้า (Exploration) ขั้นที่ 3 การอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) ขั้นที่ 4 การขยายความรู้ (Elaboration) ขั้นที่ 5 การประเมิน (Evaluation) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ แบบทดสอบวัดความสามารถด้านทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ทั้ง 5 ทักษะ ได้แก่ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร สื่อความหมายและการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือกและแบบอัตนัยแสดงวิธีทำ จำนวน 30 ข้อ ที่มีค่าความยากตั้งแต่ 0.27 ถึง 0.50 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.50 ถึง 1.00 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบแบบปรนัยและแบบอัตนัยเท่ากับ 0.87 และ 0.90 แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E จานวน 10 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.71 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยสถิติทดสอบที


ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถด้านทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสามารถด้านทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E สูงกว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งความสามารถด้านทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณาแยกเป็นรายทักษะกระบวนการ พบว่านักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาอยู่ในระดับดีมาก การให้เหตุผลอยู่ในระดับดี การสื่อสาร สื่อความหมายและการนาเสนออยู่ในระดับดีมาก การเชื่อมโยงความรู้อยู่ในระดับดีมาก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อยู่ในระดับดี และความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

##submission.howToCite##
ขาวสุริยจันทร์ ณ. (2016). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร โดยใช้การจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบ 5E ที่มีต่อความสามารถด้านทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. Journal of Humanities and Social Sciences, Rajapruk University, 2(1), 99–110. 取读于 从 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/112391
栏目
Articles

参考

จริยา จำปาหอม. (2555). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทาง คณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ (5Es) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปัทติยา หวังอาลี. (2555). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 (พิมพ์ครั้งที่ 2).
กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช สาราญราษฎร์.
ศึกษาธิการ, กระทรวง .(2545). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สุนีย์ เหมะประสิทธิ์. (2546). เอกสารการฝึกอบรมทักษะเทคนิคกระบวนการจัดการเรียนการสอน วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : ภาคหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมบัติ กาญจนารักพงศ์ และคณะ. (2549). เทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E ที่เน้นพัฒนา ทักษะการคิดขั้นสูง : กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : ธารอักษร.

อารีย์ ปานถม. (2550). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง โจทย์ปัญหาระคน โดยใช้วัฎจักรการเรียนรู้ 5E กับการเรียนรู้ปกติ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.