ความต้องการในการพัฒนาบุคลากรของข้าราชการระดับปฏิบัติการ สำนักงบประมาณส่วนกลาง

Main Article Content

ธัญสุดา สมชาติวงศ์
ภิรดา ชัยรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความต้องการในการพัฒนาบุคลากรของข้าราชการระดับปฏิบัติการ สำนักงบประมาณส่วนกลางและเพื่อเปรียบเทียบความต้องการในการพัฒนาบุคลากรของข้าราชการระดับปฏิบัติการ สำนักงบประมาณส่วนกลาง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ ข้าราชการระดับปฏิบัติการของสำนักงบประมาณ (ส่วนกลาง) จำนวน 160 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว โดยกำหนด
ค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการศึกษาพบว่า ระดับความต้องการในการพัฒนาบุคลากรของข้าราชการระดับปฏิบัติการ สำนักงบประมาณส่วนกลาง ภาพรวมทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการฝึกอบรม ด้านการศึกษา และด้านการพัฒนา อยู่ในระดับมาก (  = 4.100) ซึ่งด้านที่มีความต้องการมากที่สุด คือ ด้านการพัฒนา (  = 4.200) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และระยะเวลาในการปฏิบัติงานที่ต่างกัน มีความต้องการในการพัฒนาบุคลากรไม่แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
สมชาติวงศ์ ธ. ., & ชัยรัตน์ ภ. . (2024). ความต้องการในการพัฒนาบุคลากรของข้าราชการระดับปฏิบัติการ สำนักงบประมาณส่วนกลาง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 10(3), 32–48. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/284765
บท
บทความวิจัย

References

ทรงศักดิ์ ทิอ่อน. (2550). ปัญหาและความต้องการด้านการพัฒนาบุคลากรขององค์การบริหาร

ส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์. ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารและพัฒนา

ประชาคมเมืองและชนบท มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ธีรวดี ยิ่งมี และมงคลชัย โพล้งศิริ. (2562). ความต้องการในการพัฒนาตนเองของบุคลากร

สายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี:

สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

นภดล อิฐสุวรรณ. (2550). ความต้องการในการพัฒนาบุคลากรของพนักงานการประปา

ส่วนภูมิภาค : กรณีศึกษา พนักงานของสำนักงานประปา เขต 1. ปัญหาพิเศษ

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ

มหาวิทยาลัยบูรพา.

พนัญญา ชนะสุข. (2562). การพัฒนาบุคลากรของกระทรวงอุตสาหกรรม. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร

มหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

วิโรจน์ สิทธิศรีจันทร์. (2554). ความต้องการและการตอบสนองความต้องการในการพัฒนา

บุคลากรของข้าราชการตำรวจกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 23. วิทยานิพนธ์

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

สกลนคร.

สำนักงาน ก.พ.. (2563). คู่มือแนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2563 – 2565 ของ

สำนักงาน ก.พ.. นนทบุรี: สำนักงาน ก.พ..

สำนักงบประมาณ. (2564). แผนพัฒนาบุคลากรของสำนักงบประมาณ ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2564 –

. กรุงเทพมหานคร: สำนักงบประมาณ.

Nadler, Leonard, and Wiggs, Garland D. (1989). Managing Human Resource Development.

San Francisco: Jossey-Bass.