ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี ของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี ของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ปฏิบัติหน้าที่ตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชี ของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ที่ประจำแต่ละจังหวัด จำนวน 77 จังหวัด จังหวัดละ 1 คน รวมจำนวน 77 คน เก็บตัวอย่างจากประชากรทั้งหมด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านความรู้ทางบัญชี ด้านประสบการณ์ ด้านการฝึกอบรม ด้านความเข้าใจในขั้นตอนการจัดทำบัญชี และด้านหน่วยงานกำกับดูแล ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ซึ่งประกอบด้วย ด้านความครบถ้วน ด้านความถูกต้อง และด้านความทันเวลา โดยปัจจัยด้านความรู้ ด้านความเข้าใจในขั้นตอนการจัดทำบัญชี และด้านหน่วยงานกำกับดูแล ส่งผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านความครบถ้วน ส่วนปัจจัยด้านประสบการณ์ ด้านความเข้าใจในขั้นตอนการจัดทำบัญชี และด้านหน่วยงานกำกับดูแล ส่งผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านความถูกต้อง ในขณะที่ปัจจัยด้านการฝึกอบรมส่งผลเชิงลบต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านความครบถ้วนและด้านความถูกต้อง และปัจจัยที่ส่งผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านความทันเวลา ได้แก่ ปัจจัยด้านความเข้าใจในขั้นตอนการจัดทำบัญชี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้น ผู้บริหารหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี จึงควรพัฒนาปัจจัยดังกล่าวเพื่อให้การปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และมีประโยชน์ในการนำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีต่อไป
Article Details
References
กษมาพร ยังส้มป่อย. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
กุลธิดา ธนสมบัติศิริ และ ดารณี เอื้อชนะจิต. (2565). คุณลักษณะของนักบัญชียุคใหม่ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีในสำนักงานรับทำบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 9(2): 12-23.
แคทรียา วันวงค์ และ กนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนักบัญชีใน กรุงเทพมหานคร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 8(8): 120-134.
จุฑามาศ จันทร์เปล่ง. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการจัดทำบัญชีของนักวิชาการเงินและบัญชี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 14(3): 213-223.
ณฐา ธรเจริญกุล เกสร คงสำเภา วาสนา ศรบุญทอง และ ศิริวรรณ หว่องเจริญ. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของผู้ทำบัญชีวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 5(2): 11-26.
ธนศักด์ กุศลสร้าง และ พรทิวา แสงเขียว. (2565). ปัจจัยการควบคุมภายในที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักบัญชีและผลการดำเนินงานขององค์กรในภาคตะวันตกของประเทศไทย. Journal of Modern Learning Development. 7(11): 195-211.
ธมลวรรณ เจนธนสาร และ เบญจพร โมกขะเวส. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ของกรมปศุสัตว์. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต.17(3): 77-96.
บัวจันทร์ อินธิโส, นิตยา โพธิ์ศรีจันทร์ และ ฉัตรชัย แสงจันทร์. (2563). อิทธิพลของความสามารถในการบริหารจัดการบัญชีต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดนครพนม. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 9(1): 55-68.
บุษรา จันทร์ลอย ฐนันวริน โฆษิตคณิน และ นิกข์นิภา บุญช่วย. (2565). ประสิทธิภาพการทำงานของผู้ทำบัญชีในธุรกิจนำเข้าและส่งออกที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทย. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 3(1): 139-152.
ประวีณา เงินทิพย์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานการเงินและบัญชีของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล. การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ปัญจพร ศรีชนาพันธ วรพรรณ เขียวรุจี และปวีณา ศิริภัณฑ์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาในการจัดทำบัญชีกองทุนหมู่บ้าน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 8(2): 88-97.
พรรณิภา เสือก้อน และ เบญจพร โมกขะเวส. (2563). คุณลักษณะของนักบัญชีที่พึงประสงค์ที่มีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การประชุมวิชาการครั้งที่ 4 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา.
พลกฤต โสลาพากุล และ ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์. (2565). คุณลักษณะของธุรกิจ ข้อกําหนดด้านจรรยาบรรณ และสมรรถนะของผู้จัดทําบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทําบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา. 11(2): 24-38.
พิมพ์พิศา วรรณวิจิตร และ ปวีนา กองจันทร์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในจังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10(1): 1926-1941.
ศิริขวัญ ผลวิจิตร. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินการบัญชี หน่วยงานราชการ เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ศิริพร มูลสาร และ ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานบัญชีและการเงินของสหกรณ์การเกษตรในประเทศไทย. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม. 9(2): 65-76.
สุดารัตน มูลกิตติ และ พรทิวา แสงเขียว. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีและความสำเร็จในวิชาชีพบัญชีของนักบัญชีมหาวิทยาลัยในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 8(12): 382-393.
สุภาณี อินทน์จันทน์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพในการจัดทำบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม. 8(2): 179-193.
หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0406.5/48357 ลงวันที่ 29 กันยายน 2563 เรื่องโครงสร้างการบริหารกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
อมรรัตน์ คัมภีริชยา. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีและงบการเงินของผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ธุรกิจซื้อมาขายไปในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
เอกวินิต พรหมรักษา วิชิต อู่อ้น และ นนทิพันธุ์ ประยูรหงษ์. (2561). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในประเทศไทย. การประชุมวิชาการระดับชาติ “นวัตกรรมและเทคโนโลยีวิชาการ 2017” “วิจัยจากองค์ความรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน”. 200-210.
Rovinelli,RJ.,& Hambleton,R.K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal Educational Research, (2), 49-60