ความสัมพันธ์ระหว่างรายงานความยั่งยืนที่ได้รับการรับรองกับมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่มดัชนี SET 100

Main Article Content

ปริญญา ก้อนอาทร
วรวิทย์ เพ็ชรรื่น

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรายงานความยั่งยืนที่ได้รับการรับรองกับมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่มดัชนี SET 100 ในช่วงปี 2560 ถึงปี 2564 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 477 บริษัท–ปี (Firm–year) ได้ใช้ตัวแปรหุ่น (Dummy Variable) 1 และ 0 เพื่อระบุรายงานความยั่งยืนที่ได้รับการรับรองจากวิชาชีพบัญชีและวิชาชีพอื่น ๆ และไม่ได้รับการรับรองตามลำดับ และวัดมูลค่ากิจการโดยการใช้ Tobin’s Q โดยตัวแปรควบคุม ได้แก่ ขนาดของบริษัท ความสามารถในการทำกำไร โครงสร้างเงินทุน และกลุ่มของอุตสาหกรรมในการทดสอบความสัมพันธ์ใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุดของข้อมูล และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ


ผลการวิจัยพบว่า รายงานความยั่งยืนที่ได้รับการรับรองไม่มีความสัมพันธ์กับมูลค่ากิจการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยนักลงทุนอาจยังไม่เห็นคุณค่าของการรับรองมากนัก เนื่องจากการรับรองรายงานความยั่งยืนยังเป็นไปตามความสมัครใจ ยังไม่มีการรับรองที่แพร่หลายมากนักและเป็นการรับรองโดยวิชาชีพอื่น ๆ เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาในการสร้างมาตรฐานการปฏิบัติงานสำหรับการรับรองของวิชาชีพให้นักลงทุนได้เห็นคุณค่าของการรับรอง หรือมองเห็นถึงความน่าเชื่อถือของข้อมูลในรายงานที่เพิ่มขึ้นจากการรับรองโดยวิชาชีพอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างการปฏิบัติงานการรับรองของผู้สอบบัญชีที่มีมาตรฐานการปฏิบัติงานที่มีความน่าเชื่อถือมากกว่า ดังนั้น ข้อมูลรายงานความยั่งยืนที่ได้รับการรับรองกับที่ไม่ได้รับการรับรองจึงไม่มีความแตกต่างกันที่นักลงทุนใช้ประเมินมูลค่ากิจการเพิ่มขึ้น

Article Details

How to Cite
ก้อนอาทร ป., & เพ็ชรรื่น ว. . . (2024). ความสัมพันธ์ระหว่างรายงานความยั่งยืนที่ได้รับการรับรองกับมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่มดัชนี SET 100. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 10(2), 169–183. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/281229
บท
บทความวิจัย

References

กนกอร แก้วประภา. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องสำคัญในการตรวจสอบในรายงานผู้สอบบัญชีและคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET100. วารสารบัญชีและการจัดการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 13(3): 137-153.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2565). รายชื่อหลักทรัพย์ที่ใช้คำนวณดัชนี SET50 และ SET100. ค้นเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2565, จาก https://www.set.or.th/th/market/

information/securities-list/constituents-list-set50-set100

ธนาทิพย์ วัฒนสุชาติ. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะทางการสอบบัญชีกับคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ภัสสิริ ศรสงคราม. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลขององค์กร (ESG) กับมูลค่ากิจการ (Tobin’s Q) ในหมวดธุรกิจพลังงานที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศศิ ดิษณะ. (2559). ผลกระทบของการเปิดเผยข้อมูลสิ่งแวดล้อม และการควบคุมภายในต่อมูลค่ากิจการ:กรณีศึกษาบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อรุณี ตันติมังกร และศุภกร เอกชัยไพบูลย์. (2560). GRI Standard: จากการรายงานสู่เครื่องมือการจัดการธุรกิจอย่างยั่งยืน. ค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565, จาก https://www.setsustainability.com /libraries/628/item/315-gri-standards.

Caglio, A., Melloni, G., and Perego, P. (2020). Informational content and assurance of textual disclosures: Evidence on integrated reporting. European Accounting Review, 29(1), 55-83.

Cho, C. H., Michelon, G., Patten, D. M., and Roberts, R. W. (2014). CSR report assurance in the USA: an empirical investigation of determinants and effects. Sustainability Accounting, Management and Policy Journal. 5(2): 130-148.

Chung, K.H., and Pruitt, S.W. (1994). A simple approximation of Tobin’s q. Financial Management. 23(3): 70-74.

DeFond, M. and Zhang, J. (2014). Do client characteristics really drive the Big N audit quality effect. Journal of Accounting and Economics, 58(2): 275-326.

Gujarati, D.N. (2004). Basic Econometrics. 4th ed. New York: The McGraw-Hill Companies.

Peters, G. F., and Romi, A. M. (2015). The association between sustainability governance characteristics and the assurance of corporate sustainability reports. Auditing: A Journal of Practice & Theory, 34(1), 163-198.

Simnett, R., Vanstraelen, A., and Chua, W. F. (2009). Assurance on sustainability reports: An international comparison. The accounting review, 84(3), 937-967.

Stevens, J. (1992). Applied multivariate statistics for the social science. 2nd ed. New York: Harper and Row