ความรอบรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองและพฤติกรรมการป้องกัน ความเสี่ยงต่อการเกิดอัมพฤกษ์ของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา จังหวัดนนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความรอบรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของบุคลากรสถาบันอุดมศึกษา จังหวัดนนทบุรี และระดับพฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดอัมพฤกษ์ 2) ความสัมพันธ์ของความรอบรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองกับพฤติกรรม การป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดอัมพฤกษ์ และ 3) ปัจจัยทำนายความรอบรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองรายด้าน ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดอัมพฤกษ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสถาบันอุดมศึกษาจังหวัดนนทบุรี 2 สถาบัน 169 คน เครื่องมือ คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ความรอบรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของบุคลากรสถาบันอุดมศึกษา จังหวัดนนทบุรี อยู่ในระดับกลาง ร้อยละ 53.25 (ค่าเฉลี่ย=91.67, SD=8.86) และพฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดอัมพฤกษ์ อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 49.11 (ค่าเฉลี่ย=51.06, SD=5.33) 2) ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองทั้ง 6 ด้าน กับพฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดอัมพฤกษ์ พบความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกตัวแปร และ 3) ปัจจัยทำนายความรอบรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองรายด้าน ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดอัมพฤกษ์ มีค่า R=0.615 ซึ่งอธิบายการผันแปร พฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดอัมพฤกษ์ ร้อยละ 37.8 (R2=0.378) สมการพยากรณ์ รูปคะแนนดิบ คือ y =21.232 +0.684 (การเข้าถึงข้อมูล) + 1.365 (การจัดการเงื่อนไขทางสุขภาพ) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ y=0.295 (การเข้าถึงข้อมูล) + 0.386 (การจัดการเงื่อนไขทางสุขภาพ)
Article Details
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2561). การปฏิรูปความรอบรู้ด้านสุขภาพ. ค้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2563, จาก http://www.164.115.25.41/expertcenter/wpcontent/uploads/2018/conference/HPT3/Report/G2.Health%20LiteracyV5.pdf
กองโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. (2563). จำนวนและอัตราป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปี 2559-2562. ค้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2563, จาก http://www.thaincd.com/2016/mission/documents.php?tid=32&gid=1-020
กองสุขศึกษา. (2559). การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: นิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย) จำกัด.
_______. (2561). การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ. นนทบุรี: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.
ณัฐธิวรรณ พันธมุง. (2556). คู่มือการปฏิบัติงานป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
ดิษนัย ทัศนพูนชัย. (2563). Stroke โรคหลอดเลือดสมอง สัญญาณเสี่ยงโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต. ค้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2563, จาก https: //www.sikarin.com/content/detail/131/stroke-
ธัญชนก ขุมทอง. (2559). รูปแบบอิทธิพลเชิงสาเหตุและผลของความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีต่อพฤติกรรมสุขภาพและภาวะสุขภาพของประชาชนไทยวัยผู้ใหญ่ที่เสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในจังหวัดอุทัยธานีและอ่างทอง. ค้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2563, จาก http: //www.cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58099
นพวรรณ ธีระพันธ์เจริญ. (2561). ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28(ฉบับพิเศษ): 137-145.
ภมร ดรุณ และ ประกันชัย ไกรรัตน์. (2562). ปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนจังหวัดบึงกาฬ. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 15(3): 71-82.
วัชราพร เชยสุวรรณ. (2560). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: แนวคิดและการประยุกต์สู่ การปฏิบัติการพยาบาล Health Literacy: Concept and Application for Nursing Practice. วารสารแพทย์นาวี Royal Thai Navy Medical Journal, 44(3): 183-197.
สมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย. (2564). สถานการณ์โรคหลอดเลือดสมอง. ค้นเมื่อ วันที่ 10 กันยายน 2564, จาก https://www.thaistrokesociety.org/purpose
สุภมาส อังศุโชติ. (2565). เทคนิคการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร. ค้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2565, จาก https: www.stou.ac.th/offices/ore/info/cae/upload/pdf/636366560441132172p
อรทัย มานะธุระ. (2562). ผลการพัฒนาโปรแกรมความรอบรู้ทางสุขภาพ เรื่องอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมองและการเข้าถึงระบบบริการทางด่วนในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงและญาติ ตำบลจักราช อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 13(32): 206-221.
Krejci, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample sizes for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30: 607-610.
Mancuso JM. (2008). Health Literacy: A concept/dimensional analysis. Nurse Health Sci, 10(3): 248-55.
Nutbeam. D. (2000). Health Literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International 2000, 15(3): 259-267.
Sorensen K. et al. (2012). Health literacy and public health: A systematic review and integration of definitions and models. BMC Public Health, 12(80): 2012: 1-13.