อิทธิพลของปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้ออาหารทางเลือกประเภทผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลด้านปัจจัยจิตวิทยา การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง ค่านิยมด้านสุขภาพ ค่าคาดหวังเชิงบวก ค่าคาดหวังเรื่องความชอบ การรับรู้ความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีต่อความตั้งใจซื้ออาหารทางเลือกประเภทผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์ เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถามออนไลน์ที่มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.67-1.00 เก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้บริโภคที่ที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไปผ่านช่องทางออนไลน์ จำนวน 400 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุ
ผลการวิจัย พบว่า อิทธิพลที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้ออาหารทางเลือกประเภทผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์ ได้แก่ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง ค่านิยมสุขภาพ ค่าคาดหวังเรื่องความชอบ และการรับรู้ความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณอยู่ในระดับปานกลาง (R=0.788) อำนาจพยากรณ์ร้อยละ 62.10 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ 0.38652 (SEE=0.38652) โดยอิทธิพลของปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้ออาหารทางเลือกประเภทผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์มากที่สุด คือ ค่านิยมสุขภาพ รองลงมาคือ การรับรู้ความรับผิดชอบต่อสังคม ค่าคาดหวังเรื่องความชอบ และการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่ากับ 0.380, 0.243, 0.217 และ 0.118 ตามลำดับ ในขณะที่ปัจจัยด้านจิตวิทยา และค่าคาดหวังเชิงบวก ไม่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้ออาหารทางเลือกประเภทผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์
Article Details
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพ: สามลดา.
เกวลี วัดพ่วงแก้ว. (2561). อิทธิพลของความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรและความภักดีต่อร้านค้าต่อความตั้งใจซื้อเครื่องเรือนของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 1(13): 236-243.
ณัฐวุฒิ เลิศวัฒนเกษม. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ฐานเศรษฐกิจ. (2565). ส่องโอกาส ‘Plant-based Food’ 3 ปีทะยานแตะ 2.4 หมื่นล. ค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565, จาก https://www.thansettakij.com/business/marketing/ 511918
ทัตพงศ์ คิมหันตมาลย์. (2562). ปัจจัยด้านจิตวิทยา และแนวโน้มการซื้อผลิตภัณฑ์โปรตีนจากพืช: กรณีศึกษาผู้บริโภคชาวไทยในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นันทิตา อินธรรมมา. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
ฝ้าย เผ่ามณี. (2562). อิทธิพลความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์น้ำดื่มบรรจุขวดยี่ห้อสิงห์ ใน จังหวัดขอนแก่น. การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พลอยไพลิน คำแก้ว. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจที่จะบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ศิรินุช เศรษฐพานิช. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้ออาหารทางเลือกประเภทโปรตีนจากพืช ในรูปแบบอาหารแห้ง–ขนมขบเคี้ยวสำหรับผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร และแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 15(2): 412-428.
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา. (2564). Plant-based food เปลี่ยนอาหารให้รักษ์โลก. ค้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2565, จาก https://sciplanet.org/content/8695
อัปเปอร์คัซบล็อก. (2564). ส่องเทรนด์ธุรกิจ Plant-based Food: ถ้า “เนื้อสัตว์” ที่เรากินไม่ได้มาจากสัตว์อีกต่อไป. ค้นเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2565, จาก https://uppercuz.com/blog /introduction-to-plant-based-food-trend/
อารียา อริยทุวรรณ. (2561). การทำกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าแฟชั่นออนไลน์ของผู้บริโภค. การค้นคว้าอิสระ การจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
อิษณาติ วุฒิธนากุล. Plant-Based Food สมรภูมิที่พึ่งเริ่มต้น. ค้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2565, จาก https://positioningmag.com/1353413
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก. (2562). ยิ่งกินเนื้อสัตว์ ยิ่งทำให้โลกร้อน. ค้นเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2565, จาก http://ghginfo.tgo.or.th/index.php/th/news/5083
Ajzen, I. & Fishbein, M. (1975). Belief, Attitude, Intention and Behavior. An Introduction to Theory and Research Reading. Mass: Addison-Wesley Publishing Company.
Cochran W.G. (1977). Sampling Techniques. 3rded.New York: John Wiley and Sons Inc.
Hedin, D. (2019). Driving Forces behind Plant-Based Diets: Climate Concern and Meat Reduction. Euromonitor.
Kim, S., & Pysarchik, D.T. (2000). Predicting purchase intentions for uni-national and bi-national products. International Journal of Retail & Distribution Management, 28(6): 280–291.
Krystallis, A. (2003). Quality labels as a marketing advantage: The case of the “PDO Zagora” apples in the Greek market. European Journal of Marketing, 37(10): 1350-1374.
Lim, K. (2016). U.S. Patent no. 9,407,662. Washington, DC: U.S. Patent and Trademark Office.
Molteni, M. (2006). The social-competitive innovation pyramid. Journal of Corporate Governance, 6(4): 516-526.
Ravid, N. L., Annunziato, R. A., Ambrose, M. A., Chuang, K., Mullarkey, C., & Sicherer, S. H., et al. (2015). Mental health and quality-of-life concerns related to the burden of food allergy. Psychiatric Clinics of North America, 38(1): 77-89.
Schiffman, L.G., & Wisenblit, J. L. (2015). Customer Behavior. 11th ed. NJ: Pearson. Prentice Hall.
Sterner, Portocarrero, C. P., Sarkisian, C. J., C. J., & Chodosh, L. A. (2005). The transcriptional repressor Snail promotes mammary tumor recurrence. Cancer Cell, 8(3): 197-209.
Tuunanen et al. (2015). Balance of hedonic and utilitarian values in information systems use. In Nordic Contributions in IS Research (pp. 165-176). Switzerland: Springer International.