แนวทางการจัดการแหล่งเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการแหล่งเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครู 2) เปรียบเทียบสภาพการจัดการแหล่งเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน จำแนกตามอายุ ประสบการณ์ในการทำงาน ขนาดของโรงเรียน 3) ศึกษาแนวทางการจัดการแหล่งเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน มีวิธีดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการจัดการแหล่งเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร และครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จำนวน 318 คน ได้มาโดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.98 และสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ค่า LSD และขั้นตอนที่ 2 นำเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดการแหล่งเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ที่เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการจัดการแหล่งเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ขั้นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ขั้นการวางแผนการจัดการแหล่งเรียนรู้ รองลงมา คือ ขั้นการดำเนินงานตามแผนการจัดการแหล่งเรียนรู้ ขั้นการตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลการจัดการแหล่งเรียนรู้ และขั้นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ขั้นการสรุป พัฒนาแหล่งเรียนรู้ 2) ผู้บริหารโรงเรียน และครูที่มีอายุ ประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพการจัดการแหล่งเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผู้บริหารโรงเรียน และครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพการจัดการแหล่งเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน ไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการจัดการแหล่งเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย ขั้นการวางแผนการจัดการแหล่งเรียนรู้ ขั้นการดำเนินงานตามแผนการจัดการแหล่งเรียนรู้ ขั้นการตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลการจัดการแหล่งเรียนรู้ ขั้นการสรุป พัฒนาแหล่งเรียนรู้
Article Details
References
ชนมณี ศิลานุกิจ. (2561). รูปแบบการบริหารโรงเรียนโดยใช้วงจรคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ฐิติยา เนตรวงษ์. (2562). ห้องสมุด 4.0 กับการจัดบริการสานสนเทศสนับสนุนการเรียนร่วมเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. พัฒนาเทคนิคศึกษา, 31(110): 29–37.
ดวงสมร พิชัยคำ. (2561). แหล่งเรียนรู้ของจังหวัดสระแก้ว เพื่อส่งเสริมการศึกษาในศตวรรษที่ 21.วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 14(2): 136–147.
ไพโรจน์ คะเชนทร์. (2558). การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้. จันทบุรี: โรงเรียนวัดทุ่งเพล (พรชำนิอุปภัมภ์).
ภาณุพันธ์ พรมสวัสดิ์. (2564). สภาพการบริหารแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนปากช่อง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 31 จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยนครราชสีมา.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และ อัจฉรา ชำนิประศาสตร์. (2562). ระเบียบวิธีการวิจัย. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.
ศิริญาย์ เลียบคง. (2560). การบริหารแหล่งเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2565 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. นนทบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี.
สุดารัตน์ งามวิลัย. (2561). แนวทางการบริหารแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนกลุ่มสหวิทยาเขตร่มเกล้า-นวมินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.