การบริหารงานทั่วไปในความปกติใหม่ของสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

นิพนธ์ รักรุ่ง
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงานทั่วไปในความปกติใหม่ 2) เปรียบเทียบการบริหารงานทั่วไปในความปกติใหม่ของครูในสถานศึกษาเอกชน จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และขนาดโรงเรียน และ 3) เสนอแนวทางการบริหารงานทั่วไปในความปกติใหม่ของสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ ครูโรงเรียนเอกชนในสังกัดศึกษาธิการจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 242 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.67-1.00 และความเที่ยงเท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ค่าแปรปรวนทางเดียว ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วย LSD


ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารงานทั่วไปในความปกติใหม่ของสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุพรรณบุรี ทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก รายด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านงานนโยบายและแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา รองลงมาตามลำดับ คือ ด้านงานประชาสัมพันธ์ ด้านงานวางแผน และด้านงานอาคารสถานที่ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูต่อการบริหารงานทั่วไปในความปกติใหม่ของสถานศึกษาเอกชนในภาพรวม พบว่า เพศ ระดับการศึกษา มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ครูโรงเรียนขนาดเล็ก และขนาดกลางมีความคิดเห็นแตกต่างกันกับขนาดใหญ่และใหญ่พิเศษในด้านงานวางแผนการดำเนินการสารสนเทศ ด้านงานอาคารสถานที่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) แนวทางการบริหารงานทั่วไปในความปกติใหม่ของสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุพรรณบุรี ด้านงานอาคารสถานที่ ควรฉีดพ่นฆ่าเชื้อทั่วทั้งโรงเรียนและห้องเรียนอย่างสม่ำเสมอ โต๊ะเก้าอี้ และอาคารสถานที่ ควรทำความสะอาดให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ หากชำรุดควรซ่อมบำรุงให้ใช้งานได้เหมือนปกติ

Article Details

How to Cite
รักรุ่ง น., & เพชรโรจน์ ล. (2023). การบริหารงานทั่วไปในความปกติใหม่ของสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 9(2), 346–361. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/271211
บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ อินทร์น้อย. (2553). กระบวนการการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือการบริหารโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564–2565. ลงวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

จิรกิติ์ ทองปรีชา. (2563). การบริหารจัดการการเรียนการสอน ภายใต้สถานการณ์ COVID–19ระดับมัธยมศึกษา. ค้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2564, จาก http://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/files /2562_1597914679_6114832031.pdf.

ฐปนรรฆ์ มาลี และ ผดุง พรมมูล. (2561). การบริหารงานทั่วไปของโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานครเขตบางพลัด. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 14(1): 177-190.

น้ำฝน พิทักษ์โรจนกุล และ สมศักดิ์ เอี่ยมคงสี. (2565). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ที่ส่งผลต่อการจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรี. Journal of MCU Ubon Review, 7(2): 1971-1982.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ สุภมาศ อังศุโชติ และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2562). สถิติสำหรับการวิจัยและเทคนิคการใช้ SPSS. ปรับปรุงครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

วีระยุทธ ชาตะกาญจน์. (2556). เทคนิคการบริหารสำหรับนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุพรรณบุรี (2563). แผนพัฒนาการศึกษา (พ.ศ.2563-2565). กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุพรรณบุรี.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุพรรณบุรี. (2564). สรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังความคิดเห็นและแนวทางทางการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อโคโรนา 2019 (COVID–19). วันที่ 15 กันยายน 2564.

Athanasou, J.A. (2009). Decent and it implication for Career. Australia. Journal of Career Development, 19(1): 36-44.