อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำกับสมาชิกในองค์กรที่มีต่อความพึงพอใจในงานและผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ในอุตสาหกรรมยานยนต์ เขตอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง

Main Article Content

อภิชยา กัลยา
จุฑามาศ ทวีไพบูลย์วงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บังคับบัญชาตามการรับรู้ของพนักงาน การแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำกับสมาชิกในองค์กร ความพึงพอใจงานของพนักงาน และการปฏิบัติงานของพนักงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด และเพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บังคับบัญชา และการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำกับสมาชิกในองค์กรที่มีต่อความพึงพอใจในงาน และผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์รายใหญ่ในเขตอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง จำนวน 256 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง


ผลการวิจัย พบว่า พนักงานรับรู้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บังคับบัญชาในระดับมากที่สุด และมีความพึงพอใจในการทำงานระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.58 และ 4.72 ตามลำดับ) การแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำกับสมาชิกในองค์กรและผลการปฏิบัติงานของพนักงานอยู่ระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=4.23 และ 4.36 ตามลำดับ) การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างตามสมมติฐานพบว่าภายหลังปรับโมเดล โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า CMIN/DF=2.169, GFI=0.931, AGFI=0.893, CFI=0.952, NFI=0.915, RMSEA=0.068, RMR=0.009 โดยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บังคับบัญชามีอิทธิพลทางตรงในทางบวกต่อความพึงพอใจในการทำงานและผลการปฏิบัติงานของพนักงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (ค่าอิทธิพลทางตรง เท่ากับ 0.16 และ 0.15 ตามลำดับ) และการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำกับสมาชิกในองค์กรมีอิทธิพลทางตรงในทางบวกต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (ค่าอิทธิพลทางตรง เท่ากับ 0.14)

Article Details

How to Cite
กัลยา อ., & ทวีไพบูลย์วงษ์ จ. (2023). อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำกับสมาชิกในองค์กรที่มีต่อความพึงพอใจในงานและผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ในอุตสาหกรรมยานยนต์ เขตอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 9(2), 67–82. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/271190
บท
บทความวิจัย

References

กริซ แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS และ AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

วรินทร์ จงมีสุข, ธนธัส ทัพมงคล และ สุกฤษฎิ์ ลิมโพธิ์ทอง. (2562). ความพึงพอใจและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทภายหลังการรวมกิจการ. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 6(2): 88-96.

สกล พันธมาศ, ชัยพจน์ รักงาม และ สมุทร ชำนาญ. (2558). ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 9(2): 44-55.

สกุลชัย เก่งอนันตานนท์. (2564). EA เชื่ออุตสาหกรรม ‘รถยนต์ไฟฟ้า’ ในไทย จะเติบโตเร็วกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้. ค้นเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2564, จาก https://thestandard.co /the-electric-vehicle-industry-in-thailand-will-grow-faster/

สุทธิพงษ์ เกียรติวิชญ์. (2562). การพัฒนาแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการสอนงานของผู้บริหารที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานโดยมีการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำและสมาชิกความผูกพันของพนักงานและความพึงพอใจในการทำงานเป็นตัวแปรคั่นกลาง. Veridian E-Journal,Silpakorn University, 12(2): 152-168.

Abouraia, M. K. and Othman, S. D. (2017). Transformational leadership, job satisfaction, organizational commitment, and turnover intentions: The direct effects among bank representatives. American Journal of Industrial and Business Management, 7(4): 404-423.

Bass, B. M. (1985). Leadership and Performance Beyond Expectation. New York: Free Press.

Bass, B. M. and Riggio, R. E. (1998). Transformational Leadership. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates, Inc.

Best, J. W. and Kahn, J. V. (2006). Research in Education. 10th ed. Pearson Education Inc., Cape Town.

Buil, I., Martínez, E. and Matute, J. (2019). Transformational leadership and employee performance: The role of identification, engagement and proactive personality. International Journal of Hospitality Management, (77): 64-75.

Chen, T. J. and Wu, C. M. (2017). Improving the turnover intention of tourist hotel employees Transformational leadership, leader-member exchange, and psychological contract breach. International Journal of Contemporary Hospitality Management, 29(7): 1914-1936.

Cortina, J. M. (1993). What is coefficient alpha? An examination of theory and applications. Journal of Applied Psychology, 78(1): 98.

Fornell, C. and Larcker, D. F. (1981). Evaluating structural equation models with unobservable variables and measurement error. Journal of Marketing Research, 18(1): 39–50. doi: 10.2307/3151312.

Gaviria-Rivera, J. I. and López-Zapata, E. (2019). Transformational leadership, organizational climate and job satisfaction in work teams. European Research Studies Journal, 22(3): 68-82.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. and Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. 7th ed. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Hasib, F. F., Eliyana, A., Arief Z. and Pratiwi, A. A. (2020). The effect of transformational leadership on employee performance mediated by leader-member exchange (LMX). Systematic Reviews in Pharmacy, 11(11): 1199-1209.

Jyoti, J. and Bhau, S. (2015). Impact of transformational leadership on job performance: mediating role of leader–member exchange and relational identification. SAGE Open. 5(4): 1-13. doi: 10.1177/2158244015612518.

Kim, M. R., Choi, L., Knutson, B. J. and Borchgrevink, C. P. (2017). Hotel employees’ organizational behaviors from cross-national perspectives. International Journal of Contemporary Hospitality Management. 29(12): 3082-3100. doi: 10.1108/ IJCHM-05-2016-0280.

Kline, R. B. (2005). Principles and Practice of Structural Equation Modeling. 2nd ed. New York: Guilford.

Liden, R. C. and Maslyn, J. M. (1998). Multidimensionality of leader-member exchange: an empirical assessment through scale development. Journal of Management, 24(1): 43-72.

Malik, M., Wan, D., Ishfaq Ahmad, M., Akram Naseem, M. and Rehman, R. ur. (2015). The role of LMX in employee’s job motivation, satisfaction, empowerment, stress and turnover: cross country analysis. The Journal of Applied Business Research, 31(5): 1987-2000.

Phuong, T. and Vinh, T. T. (2020). Job satisfaction, employee loyalty and job performance in the hospitality industry: A moderated model. Asian Economic and Financial Review, 10(6): 698-713.

Purba, K. and Sudibjo, K. (2020). The effects analysis of transformational leadership, work motivation and compensation on employee performance in PT. Sago Nauli. Budapest International Research and Critics Institute-Journal (BIRCI-Journal), 3(3): 1606-1617.

Xue, Y. and Moon, J. (2019). The effects of LMX and feeling trusted on job performance and workplace ostracism among salespeople. Journal of Distribution Science, 17(4): 41-50.

Zeb, A., Abdullah, N. H., Othayman, M. B. and Ali, M. (2019). The role of LMX in explaining relationships between organizational justice and job performance. Journal of Competitiveness, 11(2): 144-160.