การศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้ออาหารผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการตัดสินใจซื้ออาหารผ่านแอปพลิเคชัน จำแนกตามพฤติกรรมของผู้บริโภค และ 2) ศึกษาทัศนคติของผู้บริโภคที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้ออาหารผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวน 400 ชุด จากผู้บริโภคที่เคยใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ทดสอบรายคู่ด้วยวิธี LSD และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมของผู้บริโภคที่ต่างกัน ได้แก่ การใช้แอปพลิเคชันสั่งอาหารประเภทที่ต่างกัน และการใช้แอปพลิเคชันสั่งอาหารมื้อที่ต่างกัน มีกระบวนการตัดสินใจซื้ออาหารผ่านแอปพลิเคชันแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ปัจจัยทัศนคติของผู้บริโภค ประกอบด้วย ด้านความต้องการของผู้บริโภค และด้านต้นทุนของผู้บริโภค มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้ออาหารผ่านแอปพลิเคชันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
ชเนศ ลักษณ์พันธุ์ภักดี. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์และปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชาริณี ลิ้มอิ่ม. (2562). พฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชั่นไลน์แมนในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม.
ติณณ์ ขจรเงิน. (2558). ส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภคที่มีผลต่อความพึงพอใจในการเข้าใช้บริการ กรณีศึกษาร้านนำทองชัย อะไหล่รถยนต์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 5(2): 241-252.
พิมพงา วีระโยธิน. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้บริโภคตัดสินใจใช้แอปพลิเคชันอูเบอร์ อีท (Uber Eats) เพื่อบริการรับส่งอาหาร (Food Delivery). การค้นคว้าอิสระ ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). มูลค่าตลาดการสั่งอาหารออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่นในปี 2562. ค้นเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2563, จาก http://www.kasikornresearch.com.
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2563). พฤติกรรมผู้บริโภค. ค้นเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2563, จาก http://www.bora.dopa.go.th.
สิทธินันต์ สันติกุลสุข (2561). พฤติกรรมและทัศนคติของผู้บริโภคด้านการสื่อสารที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารกราโนล่าผ่านร้านค้าออนไลน์. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์. 12(16): 61-82.
อมรรัตน์ ยุวกุลกำธร. (2560). พฤติกรรมการบริโภคอาหารเจและความต้องการใช้บริการอาหารเจจัดส่งแบบถึงที่ในช่วงเทศกาลกินเจของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
Cronbach L. J. (1974). Essentials of Psychological testing. New York: Harper and Row.
Kotler, P. (1994). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation, and Control. 8th ed. Prentice Hall, Upper Saddle River.
Kotler, P. (1997). Marketing management: Analysis, planning, implement, and control. 9th ed. New York: Prentice-Hall.
Kotler, Philip and Keller, Kevin Lane. (2012). Marketing Management. 12th ed, Edinburgh Gate: Pearson Education Limited.
Lauterborn, B. (1990). New Marketing Litany; Four Ps passes; C-words take over. Advertising Age (Midwest Region Edition, Chicago), 61(41): 26.