แรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการธุรการ สังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด

Main Article Content

ศรัณย์ รุ่งเรือง
เกวลิน ศีลพิพัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แรงจูงใจต่อองค์กรของข้าราชการธุรการ สังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด 2) ความผูกพันของข้าราชการธุรการ สังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด และ 3) ความสัมพันธ์ของแรงจูงใจกับความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการธุรการ สังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด จำนวน 400 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน


ผลการวิจัย พบว่า 1) แรงจูงใจของข้าราชการธุรการ ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) ความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการธุรการ ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และ 3) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านปัจจัยจูงใจ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำมากกับความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการธุรการ สังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านปัจจัยอนามัย มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการธุรการ สังกัดสำนักงานอัยการสูงสุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
รุ่งเรือง ศ., & ศีลพิพัฒน์ เ. (2023). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการธุรการ สังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 9(1), 254–269. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/267854
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐณิชา หิมทอง. (2562). ความสัมพันธ์ของแรงจูงใจในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ การจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ธวัชชัย ช่างสัน. (2562). ผลกระทบของปัจจัยสภาพแวดล้อมทางจิตวิทยาที่มีต่อความผูกพันต่อองค์การ: ศึกษาเฉพาะกรณีข้าราชการในสังกัดกระทรวงแรงงาน. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาศึกษา แขนงวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พรนัชชา บุญสา. (2562). การศึกษาแรงจูงใจในการทำงานและความผูกพันต่อองค์การของพนักงานคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาลมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ภรณ์ศิรินทร์ ทันสมัย. (2562). แรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานฝ่ายการแพทย์โรงพยาบาลหัวเฉียว. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานอัยการสูงสุด. (2562). เอกสารข้อมูลของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุดจากสำนักบริหารทรัพยากรบุคคล. (เอกสารสำเนา).

สุกันยา สร้อยอำภา. (2552). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท ซูมิโมโต อิเล็กตริก ไวริ่ง ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด. งานนิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุจินต์ พูลปัน. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานและความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรในโรงเรียน สังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Allen, N. J., & Meyer, J. P. (1990). The measurement and antecedents of affective, continuance, and normative commitment to the organization. Journal of Occupational Psychology, 63(10): 1-18.

Cronbach, Lee. J. (1990). Essentials of Psychology Testing. 5th ed. New York: Harper Collins Publishers Inc.

Herzberg, F., Mausner, B., & Snyderman, B. (1959). The motivation to work. 2nd ed. New York: John Wiley & Sons.

Steers, R. M. (1977). Antecedents and outcomes of organizational commitment. Administrative Science Quarterly, 22: 46-56.

Toller, P. (2011). Bereaved parents’ experience of supportive and unsupportive communication. Southern Communication Journal, 76: 17-34.