รูปแบบการจัดการนวัตกรรมของโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดนครปฐม

Main Article Content

อนุธิดา ประเสริฐศักดิ์
ภราดี พิริยะพงษ์รัตน์
กิตติพงษ์ ตระกูลโชคอำนวย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการจัดการนวัตกรรมของโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดนครปฐม และ 2) รูปแบบการจัดการนวัตกรรมของโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรของโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดนครปฐม จำนวน 165 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามการวิจัยแสดงด้วยค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคแอลฟาเท่ากับ 0.98 และใช้สถิติการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน


ผลการวิจัย พบว่า ระดับความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการจัดการนวัตกรรมของโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดนครปฐมในอยู่ในระดับมากที่สุด และองค์ประกอบการจัดการนวัตกรรมของโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดนครปฐม ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) สิ่งนำเข้ากระบวนการนวัตกรรม (2) กระบวนการนวัตกรรมภายในองค์กร (3) ผลผลิตนวัตกรรม และ (4) กระบวนการนวัตกรรมภายนอกองค์กร สำหรับผลการตรวจเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโครงสร้างเชิงองค์ประกอบการจัดการนวัตกรรมของโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดนครปฐมกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า ค่าวัดระดับความกลมกลืน คือ Chi-square (χ2)=199.012, df=196, χ2/df (CMIN/DF)=1.015, RMR=.016, RMSEA=.000, GFI=.915, AGFI=.880, และ CFI=0.999 แสดงว่ารูปแบบโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบการจัดการนวัตกรรมของโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดนครปฐมเชิงยืนยัน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ดังนั้นผู้บริหารโรงพยาบาลเอกชนควรให้ความสำคัญกับการพัฒนากระบวนการนวัตกรรมทั้งในภายในและภายนอกองค์กร และส่งเสริมให้บุคลากรได้มีการพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เป็นประโยชน์และสามารถนำไปใช้ได้จริงในการปฏิบัติงาน

Article Details

How to Cite
ประเสริฐศักดิ์ อ., พิริยะพงษ์รัตน์ ภ., & ตระกูลโชคอำนวย ก. (2023). รูปแบบการจัดการนวัตกรรมของโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดนครปฐม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 9(1), 56–74. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/267840
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2563). ทีเซลส์-โรงพยาบาลพญาไท-โรงพยาบาลเปาโล ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรภาครัฐภาคเอกชน พัฒนาโครงการปัญญาประดิษฐ์ สำหรับวิเคราะห์ภาพเอ็กซ์เรย์ทรวงอก. ค้นเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2564, จาก https://www.mhesi.go.th/index.php/en/news-and-announce-all/news-all/1729-2020-07-02-05-47-24.html

กฤศกร จิรภานุเมศ สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ และ พนิดา แช่มช้าง. (2554). ผลของการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการและกลยุทธ์ที่มีต่อความสามารถทางนวัตกรรมและผลการดำเนินงาน การศึกษาเชิงประจักษ์ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ. วารสารวิทยาการจัดการ, 28(1): 1-15.

กัญญาวีณ์ โมกขาว สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ นงลักษณ์ จินตนาดิลก และ เนตรชนก ศรีทุมมา. (2560). โมเดลความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงการสร้างความรู้ และผลการดำเนินงานการจัดการนวัตกรรมของหอผู้ป่วยโรงพยาบาลชุมชน. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 27(3): 163–175.

ชลภัสสรณ์ สิทธิวรงค์ชัย. (2560). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลลัพธ์ในการจัดการนวัตกรรมเชิงกลยุทธ์; หลักฐานเชิงประจักษ์ของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร. ค้นเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2564, จาก http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/1647/1/57604928.pdf

นภดล เหลืองภิรมย์. (2557). การจัดการนวัตกรรม Innovation Management. กรุงเทพฯ: ดวงกมลพับลิชชิ่ง.

พยัต วุฒิรงค์. (2562). การจัดการนวัตกรรม: ทรัพยากร องค์การแห่งการเรียนรู้ และนวัตกรรม พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พูลพงศ์ สุขสว่าง. (2557). หลักการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 6(2): 136-145.

ลำพู สนั่นเอื้อ สุคนธ์ ไข่แก้ว และ สมพันธ์ หิญชีระนันท์. (2561). องค์ประกอบของภาวะผู้นำนวัตกรรมทางการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ ที่โรงพยาบาลเฉพาะทางมะเร็ง เขต 4 กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์. 14(2): 63-73.

วุฒิพงษ์ ภักดีเหลา. (2554). การศึกษาคุณลักษณะขององค์การนวัตกรรม: กรณีศึกษาองค์การที่ได้รับรางวัลด้านนวัตกรรม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. ค้นเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2564, จาก http://libdcms.nida.ac.th/thesis6/2554/b175391.pdf

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2553). การจัดการนวัตกรรมสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพฯ: กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม. (2562). ข้อมูลสถิติบุคลากรทางการแพทย์จังหวัดนครปฐม. ค้นเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2563, จาก https://npt.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=c11dad88f80061c70cd1ae96b500d017&id=680c8ce3c9c0f0bd6d9734664ad4eb13

สุนทรีภรณ์ ทองไสย. (2559). พยาบาลกับการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า. 27(1): 112-119.

อรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล. (2559). การสร้างตัวแบบโรงพยาบาลนวัตกรรม: ระเบียบวิธีทฤษฎีฐานราก. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์. ค้นเมื่อ 2 มกราคม 2564, จาก http://ssde.nida.ac.th/images/PDF/thesis_is/PhD/2559/arunee.pdf

Adair, J. (1996). Effective Innovation: How to Stay Ahead of the Competition. London: Pan Books.b4081061866744.html.

Deming, E. W. (1995). Out of the crisis. USA: The Massachusetts Institute of Technology Center for Advanced Engineering Study.

Greenberg, J. (2005). Managing Behavior in Organizations (4th ed). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Hair, J., Black, W., Babin, B., & Anderson, R. (2010). Multivariate data analysis a global perspective. New Jersey: Hamilton Printing.

Hamidi, F. & Gharneh, N. S. (2017). Impact of Co-creation on Innovation Capability and Firm Performance: A Structural Equation Modeling. Ad-minister, 30(1), 73-90. DOI: 10.17230/administer.30.4

Hooper, D., Coughlan. J., and Mullen M.R. (2008). Structural Equation Modeling: Guidelines for Determining Model Fit. Electronic Journal on Business Research Methods. 6(1): 53-60.

McGregor, J. 2008. The World's Most Innovative Companies. Bloomberg BusinessWeek. (April). Retrieved on November 24th, 2020, from http://www.businessweek.com/magazine/content/08_17/

Tidd, J. and Bessant, J. (2014). Management Innovation. 3th ed. West Sussex: Wiley.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. 3th ed. New York: Harper &row.