ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดพัทลุง ตามแนวคิดทักษะชีวิตและอาชีพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดพัทลุง ตามแนวคิดทักษะชีวิตและอาชีพ ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนเอกชนในจังหวัดพัทลุง 189 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน 21 คน ครู 168 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) 0.67-1.00 โดยแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Checklist) และแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ซึ่งมีข้อคำถามทั้งหมด 129 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified) ผลการวิจัย พบว่า ผลลัพธ์ของการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ ผลลัพธ์ด้านนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (PNIModified=0.383) มีทักษะชีวิตและอาชีพด้านการยืดหยุ่น มีลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงสุด (PNIModified=0.308) พิจารณาองค์ประกอบย่อยของผลลัพธ์ที่มีลำดับความจำเป็นในการพัฒนาสูงสุด คือ การรับฟังเสียงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีทักษะชีวิตและอาชีพด้านความรับผิดชอบ มีลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงสุด (PNIModified=0.323) และการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงสุด คือ ด้านกลยุทธ์ (PNIModified=0.469) มีทักษะชีวิตและอาชีพด้านการคิดริเริ่ม มีลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงสุด (PNIModified=0.488) พิจารณาองค์ประกอบย่อยของการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีลำดับความจำเป็นในการพัฒนาสูงสุด คือ การจัดทำแผนกลยุทธ์ มีทักษะชีวิตและอาชีพด้านการคิดริเริ่ม มีลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงสุด (PNIModified=0.536)
Article Details
References
กนกวรรณ ศุภสิริโรจน์. (2556). กลยุทธ์การบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนดนตรีเอกชนนอกระบบ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เกษศิริ กมล. (2556). การวิเคราะห์การบริหารโรงเรียนเอกชนที่มีความเป็นเลิศในประเทศไทยตามเกณฑ์มาตรฐานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ มัลคอล์ม บอลดริจ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ขัตติยา ด้วงสำราญ. (2552). รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จงรักษ์ ศรีทิพย์. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 9(1), 201-215.
จิตติภา ศัพทเสน. (2558) แนวทางการบริหารสู่ความเป็นเลิศตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานของโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล: กรณีโรงเรียนนนทรีวิทยา. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา(OJED), 10(3): 261-271.
ชยาภรณ์ คำตุ้ย. (2560). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตและงานอาชีพในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ, 11(2): 25-33.
โชติญา เผ่าจินดา. (2560). การตรวจสอบความตรงของโมเดลทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสาร Veridian E Journal Su, 10(1): 458-470.
ปนัดดา นกแก้ว. (2562). ทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
รมณภัทร กตตน์วงศกร. (2557). การศึกษาผลการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบางจาก (โกมลประเสริฐอุทิศ) สำนักงานเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ตถาตา พับลิเคชั่น.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน OBECQA ปี 2559-2560. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2556). บทบาทของโรงเรียนเอกชน. ค้นเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2564, จาก https://sites.google.com/site/prachasampan56/bthbath-khxng-rongreiyn-xekchn
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560–2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพัทลุง. (2562). แผนพัฒนาการศึกษา พ.ศ.2562 – 2565. ค้นเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://phatthalung1.go.th/phatthalung_Edu/
สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน. (2556). สสค.เปิดผลสำรวจทักษะของเด็กไทยในศตวรรษที่ 21. ค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2563, จาก: http://www.qlf.or.th/Mobile/Details?contentId=570
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรรนพ คนเที่ยง. (2559). การพัฒนาแนวทางการบริหารโรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒารามฯเทียบเคียงเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สารนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Jansen, A. N. B. (2013). Life Skills that Enable Resilience: A Profile of Adolescents from a Coloured Community in Kimberley. Doctoral dissertation. University of the Free State.
Partnership for 21st Century Skills. (2019). Framework for 21st century learning Retrieved on December 7th, 2020, From https://www.battelleforkids.org/networks/p21/frameworks-resources.