ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการนำสะเต็มศึกษาไปใช้ในชีวิตจริง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการนำสะเต็มศึกษาไปใช้ในชีวิตจริง ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ แบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ประชากร คือ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษา (สพม.) ทั่วประเทศ จำนวน 2,358 โรงเรียน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีเลือกสุ่มแบบหลายขั้นตอน โดยสุ่มโรงเรียนตามสัดส่วนเขตพื้นที่การศึกษาแล้วนำมาสุ่มต่อจากกลุ่มขนาดสถานศึกษา และสุ่มอย่างง่ายตามลำดับจำนวน 345 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล 2,070 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา 1 คน รองผู้อำนวยการหรือหัวหน้างานฝ่ายวิชาการ 1 คน และครูผู้สอนวิชาสาขาสะเต็ม ได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ 4 คน รวม 6 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified)
ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบันภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =3.26) สภาพที่พึงประสงค์ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.08) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการนำสะเต็มศึกษาไปใช้ในชีวิตจริง พบว่า ความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ การประเมินผลกับระดับการบูรณาการ (PNImodified=0.3000) อันดับสอง คือ ด้านการจัดการเรียนการสอนกับระดับการบูรณาการ (PNImodified=0.2926) และอันดับสาม คือ ด้านการจัดการเรียนการสอนกับการสร้างนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานและเศรษฐกิจ (PNImodified=0.2871) ด้านการประเมินผลกับการสร้างนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานและเศรษฐกิจ (PNImodified=0.2871) ซึ่งมีความต้องการจำเป็นเท่ากัน
Article Details
References
กมล ภู่ประเสริฐ. (2544). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: ทิปส์ พับบลิเคชั่น.
เขมวดี พงศานนท์. (2557). สะเต็มศึกษา:นวัตกรรมการเรียนรู้ในศตรรษที่ 21. ค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2561, จาก http://www.stemedthailand.org/wp-content/uploads/2015/05/NewIntro-STEM.pptx
ฐิติวรดา พลเยี่ยม. (2561). สะเต็มศึกษา:ความเข้าใจเบื้องต้นสู่ห้องเรียนบูรณาการ. วารสารครุพิบูล, 5(2): 122-135.
ประสงค์สิทธิ์ ราชชมภู และ นิธิตา สิริพงศ์ทักษิณ. (2563). กระบวนการนำนโยบายสะเต็มศึกษาไปปฏิบัติในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารการบริหารการปกครอง. 9(2): 541-556.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2542). การบริหารวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
ปูชนีย์ ช่วยไธสง และ พีรศักดิ์ วรฉัตร. (2563). การพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 32. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 9(2): 584-597.
ลือชา ลดาชาติ วิลาวัลย์ โพธิ์ทอง วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์ และ ลฏาภา ลดาชาติ. (2562). ความเข้าใจและมุมมองของครูเกี่ยวกับสะเต็มศึกษาและการออกแบบเชิงวิศวกรรม. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(3): 133-149.
วศิณีย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา. (2559). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสะเต็มศึกษา. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติ สถานบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). ผลการประเมิน PISA2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).
ศูนย์สะเต็มแห่งชาติ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2561). คู่มือหลักสูตรอบรมครูสะเต็ม. ค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2562, จาก: http://sk.nfe.go.th/msk/UserFiles/File/stem.pdf
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2014). ค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2562, จาก http://www.stemedthailand.org/?page_id=25
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). รู้จักสะเต็ม. ค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2562, จาก http://www.stemedthailand.org/?page_id=23
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2. (2562). ประกาศสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 เรื่อง โครงสร้างการบริหารงานของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2.
สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). เรื่องการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาของเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไปยังคณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2550. ประกาศสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). มาตรฐานการศึกษาชาติ พ.ศ.2561. กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานการวิจัย เพื่อจัดทำข้อเสนอนโยบาย การส่งเสริมการจัดการศึกษาด้านสะเต็มศึกษาของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). สรุปผลการประชุมโต๊ะกลมไทย-สหรัฐฯ ด้านการศึกษาครั้งที่ 7: สะเต็มศึกษา: วัฒนธรรมการเรียนรู้สำหรับกำลังคนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา.
สุกัญญา แช่มช้อย และคณะ. (2560). ภาวะผู้นำในการบริหารและการประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุดารัตน์ พรหมแก้ว เอกรินทร์ สังข์ทอง ชวลิต เกิดทิพย์ และ ชิดชนก เชิงเชาว์. (2563). การบริหารจัดการสะเต็มศึกษาของโรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษา: กรณีศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 31(3): 199-212.
สุภัค โอฬารพิริยะกุล. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการสำหรับโรงเรียนอนุบาล. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุทัย บุญประเสริฐ. (2540). หลักสูตรและการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: เอสดีเพรส.
Beatty, A. (2011). Successful STEM Education:Workshop Summary. Washington DC: the National Academies Press.
Manosuttirit, A. (2016). A Study of Teaching STEM Education in Thai High School. Thammasat International Journal of Science and Technology, 1-6.
National Research Council. (2012). A Framework for K-12 Science Education: Practices, Crosscutting Concept, and Core Ideas. Committee on New Science Education Standards, Board on Science Education, Division of Behavioral and Social Science and Education. Washington, DC: National Academy Press.
Vasquez Jo.A., S. C. (2013). STEM Lesson Essentials:Integrating Science, Technology, Engineering, and Mathematics. Portsmouth: Heinemann.
Vennix, J., den Brok, P. & Taconis, R. (2017). Perceptions of STEM-based outreach learning activities in secondary education. Learning Environment Research, 20(1), 21-46. doi:https://doi.org/10.1007/s10984-016-9217-6