การบริหารความร่วมมือการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริหารและครูในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1

Main Article Content

ภัทรวรรณ นิลรากเพ็ชร
ชลาภรณ์ สุวรรณสัมฤทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารความร่วมมือการใช้สื่อสังคมออนไลน์ 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารความร่วมมือการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริหารและครู จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคลและขนาดโรงเรียน และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารความร่วมมือการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 329 คน ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ซึ่งเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธี LSD และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารความร่วมมือการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริหารและครูในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ รองลงมา คือ ด้านการเลือกสื่อสังคมออนไลน์ และด้านการกำหนดวิธีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ การกำหนดเนื้อหาที่จะใช้สื่อสังคมออนไลน์ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูต่อการบริหารความร่วมมือการใช้สื่อสังคมออนไลน์ พบว่าผู้บริหารและครู ที่มีเพศ อายุ ตำแหน่ง ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และขนาดโรงเรียนจะมีระดับการบริหารความร่วมมือการใช้สื่อสังคมออนไลน์แตกต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) แนวทางการบริหารความร่วมมือการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริหารและครู คือ ควรให้ความสำคัญในการประเมินทักษะการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริหาร ครูและผู้ปกครอง มีการพัฒนาบุคลากรด้านความรู้ในการจัดทำสื่อ และการเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ในการเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริหาร ครูและผู้ปกครอง

Article Details

How to Cite
นิลรากเพ็ชร ภ., & สุวรรณสัมฤทธิ์ ช. (2022). การบริหารความร่วมมือการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริหารและครูในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 8(2), 235–248. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/262984
บท
บทความวิจัย

References

กิ่งฟ้า สินธุวงศ์. (2552). การประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 1(1): 6-19.

จารุวรรณ บุญศร. (2563). ความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของ โรงเรียนเทศบาลวังสะพุง 1 เทศบาลเมืองวังสะพุง จังหวัดเลย. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ชนินทร์ ตั้งพานทอง. (2560). ปัจจัยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนออนไลน์เพื่อเสริมการเรียนการสอน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เทวพร ขำเมธา. (2559). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนในกลุ่มสระยายโสม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธีระ รุญเจริญ. (2553). ความเปนมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษา ยุคปฏิรูปการศึกษาเพื่อปฏิรูป รอบ 2 และประเมินภายนอกรอบ 3. ขอนแกน: สํานักพิมพข้าวฟ่าง.

ปรมะ สตะเวทิน. (2546). หลักและทฤษฎีการสื่อสาร หน่วยที่ 9-15 = Principles and theories of communication. นนทบุรี: สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

รุ่งรุจน์ธนัน บุณยรักษ์. (2562). กลยุทธ์การบริหารความร่วมมือทางสังคมออนไลน์เชิงสร้างสรรค์ในการศึกษาสำหรับโรงเรียนเอกชนระดับอนุบาลในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(2) เมษายน-มิถุนายน 2562: 315-332.

วัฒณี ภูวทิศ. (2557). การสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างสร้างสรรค์. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6,12 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557).

สมชาย วัชรปัญญาวงศ์. (2556). การพัฒนาต้นแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมโดยการอภิปรายผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อลดความผิดพลาดทางไวยากรณ์ในงานเขียนภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). นโยบาย สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ.2561. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2555). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ.2555-2559. กระทรวงศึกษาธิการ.

Marcoline, Joseph F. (1990). A Survey of Shared Decision-making in/Pennsylvania: Comparing Teacher. DissertationAbstracts International. (n.p.).