การบริหารจัดการอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1

Main Article Content

รัตนาวดี พงษ์ธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารจัดการอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 จำนวน 297 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการทดสอบรายคู่แบบ LSD


ผลการวิจัย พบว่า 1. ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 มีการบริหารจัดการอารมณ์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการสร้างแรงจูงใจให้แก่ตนเอง (3.95) รองลงมา คือ ด้านความฉลาดในการอดทนต่อแรงกดดันของผู้บริหารสถานศึกษา และด้านการสร้างความสัมพันธ์อันดีแก่ผู้อื่นเสมอ (ค่าเฉลี่ย=3.93) ด้านการจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้อย่างเหมาะสม (ค่าเฉลี่ย=3.87) ด้านการตระหนักในอารมณ์ตนเอง (ค่าเฉลี่ย=3.86) และด้านการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น (ค่าเฉลี่ย=3.85) ตามลำดับ 2. การเปรียบเทียบการบริหารจัดการอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า ครูที่มีเพศ ตำแหน่งงาน และขนาดสถานศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาไม่แตกต่างกัน ส่วนครูที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาต่างกันในด้านการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น ส่วนครูที่มีอายุแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ภาพรวมแตกต่างกัน 4 ด้าน คือ ด้านการสร้างแรงจูงใจให้แก่ตนเอง ด้านการเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น และด้านสร้างความสัมพันธ์อันดีแก่ผู้อื่น และครูที่มีประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกัน มีความเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาภาพรวมและรายด้านแตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
พงษ์ธานี ร. (2022). การบริหารจัดการอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 . วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 8(1), 142–156. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/260269
บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2546). อีคิว: ความฉลาดทางอารมณ์. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.

เจนวิทย์ จงใจ. (2558). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

ทรงสวัสดิ์ แสงมณี. (2553). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความต้องการของครูสังกัดกรุงเทพมหานครเขตบางขุนเทียน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยธนบุรี.

ทศพร มะหะหมัด และ สุวิมล พันธ์โต. (2020). การใช้ความฉลาดทางอารมณ์ในการปฏิบัติงานของทรัพยากรบุคคลในองค์กร. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(2).

เทอดศักดิ์ เดชคง. (2548). ความฉลาดทางอารมณสูสติและปญหา. พิมพครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มติชน.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และ อัจฉรา ชำนิประศาสน์ . (2562) . สถิติสำหรับการวิจัยและเทคนิคการใช้ SPSS = Statistics for research and SPSS application techniques. พิมพ์ครั้งที่ 3 ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ (2559). 50 แนวคิด ตัวชี้วัด ตัวแบบของการบริหารจัดการและการบริหารจัดการที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ก้าวใหม่.

ศิริพร วิษณุมหิมาชัย. (2562). บริหารอารมณ์ในที่ทำงาน. กรุงเทพฯ: เพชรประกาย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1. (2560). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561. เอกสาร สพป.นนทบุรี เขต 1 ที่ 3/2560 กลุ่มนโยบายและแผน สพป.นนทบุรี เขต 1.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2560-2564).รายงานสรุปผลการประชุมประจำปี 2558. ณ ศูนย์แสดงการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี.

สุดารัตน์ ธีรธรรมธาดา และ นิตนา ฐานิต ธนกร. (2558). ปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ พฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ และความฉลาดทางอารมณ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

อมรรัตน์ วงศ์ประเทศ. (2550). การพัฒนาแบบทดสอบวัดความฉลาดทางอารมณ์ของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

Costa, Ripoll, Sanchez & Carvalho. (2012). Emotional intelligence and self-efficacy: effects on psychological well-being in college students. The Spanish Journal of Psychology, 16, E50.

Dhani & Sharma. (2017). Relationship between emotional intelligence and personality: A study in Indian context. International Business Management, 11(5): 1133-1139.

Mayer, J. D., & Salovey, P. (1995). Emotional Intelligence and the Construction and Regulation of Feelings. Applied & Preventive Psychology, 4: 197-208.