การพัฒนากรอบแนวคิดต้นทุนผลผลิตฐานกิจกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา: กรณีศึกษาโรงเรียนเทพศิรินทร์

Main Article Content

พชร สินสมรส
นันทรัตน์ เจริญกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ร่างกรอบแนวคิด 2) ประเมินกรอบแนวคิด และ 3) สังเคราะห์กรอบแนวคิดต้นทุนผลผลิตฐานกิจกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา: กรณีศึกษาโรงเรียนเทพศิรินทร์ โดยใช้วิธีการสังเคราะห์จากเอกสาร 12 รายการ แบ่งเป็นเอกสารเกี่ยวกับต้นทุนผลผลิตฐานกิจกรรม 6 รายการ และการบริหารโรงเรียนเทพศิรินทร์ 6 รายการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบร่างกรอบแนวคิดและแบบประเมินความเหมาะสมของกรอบแนวคิดต้นทุนผลผลิตฐานกิจกรรมโรงเรียนมัธยมศึกษา: กรณีศึกษาโรงเรียนเทพศิรินทร์ ผลการวิจัย พบว่า กรอบแนวคิด ประกอบด้วย 4 กรอบแนวคิด ได้แก่ ผลผลิต กิจกรรมของผลผลิต ตัวปันส่วน และการคำนวณต้นทุนผลผลิตฐานกิจกรรม โดยผลผลิตของโรงเรียนมี 11 ผลผลิต แบ่งตามแผนการเรียน ได้แก่ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น แบ่งเป็น 4 ผลผลิต 1) แผนทั่วไป 2) แผน Gifted 3) แผน EP และ 4) แผน MEP และชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แบ่งเป็น 7 ผลผลิต จากแผนการเรียนวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ 5) แผนทั่วไป 6) แผน Gifted และ 7) แผน IEP และแผนการเรียนศิลป์ 8) แผนศิลป์คำนวณ 9) แผนศิลป์ภาษาจีน 10) แผนศิลป์ภาษาที่ 3 อื่น และ 11) แผนศิลป์ทั่วไป ส่วนกิจกรรมของผลผลิตที่จะได้ร่วมตลอดหลักสูตรแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1) กิจกรรมหลักทางตรง 2) กิจกรรมหลักทางอ้อม และ 3) กิจกรรมสนับสนุน โดยที่กิจกรรมจะมีตัวปันส่วน เพื่อปันทรัพยากรเข้าสู่กิจกรรม โดยใช้มีตัวปันส่วน 2 ตัว คือ สัดส่วนจำนวนนักเรียนและชั่วโมงเรียน และจึงคำนวณต้นทุนผลผลิตฐานกิจกรรม โดยการคำนวณจากค่าใช้จ่ายแต่ละกิจกรรมหารเฉลี่ยด้วยสัดส่วนจำนวนนักเรียนหรือชั่วโมงเรียนในแต่ละผลผลิตและรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดจึงได้เป็นต้นทุนรายหัว ซึ่งผลการประเมินกรอบแนวคิดจากผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในระดับเหมาะสมมาก (mean=1.00, SD=0.00) สามารถนำผลการวิจัยไปต่อยอดใช้ในการวางแผนงบประมาณของโรงเรียนต่อในอนาคตได้

Article Details

How to Cite
สินสมรส พ., & เจริญกุล น. (2021). การพัฒนากรอบแนวคิดต้นทุนผลผลิตฐานกิจกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา: กรณีศึกษาโรงเรียนเทพศิรินทร์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(Special), 129–146. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/257377
บท
บทความวิจัย

References

เดชา บุญมาสุข. (2546). การวิเคราะห์ต้นทุนทางการศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยสงฆ์ของไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บงกช อนังคพันธ์. (2552). การประยุกต์ใช้ต้นทุนฐานกิจกรรมในการคำนวณต้นทุนการผลิตนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ (Princess of Naradhiwas University Journal), 1(3): 33-47.

ปริณัฐ แซ่หวุ่น. (2548). การศึกษาระบบต้นทุนฐานกิจกรรมสำหรับการผลิตนักศึกษา กรณีศึกษา: คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผกามาศ มูลวันดี. (2560). การศึกษาการใช้ระบบต้นทุนฐานกิจกรรมในการคำนวณต้นทุนการผลิตนักเรีนของวิทยาลัยการอาชีพในเขตภาคเหนือ. Academic Journal of Buriram Rajabhat University. 9(1): 137-155.

โรงเรียนเทพศิรินทร์. (2558). แผนปฏิบัติการประจำปี 2558. กรุงเทพฯ: ร้านถ่ายเอกสารหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โรงเรียนเทพศิรินทร์. (2559). รายงานประจำปี 2558. กรุงเทพฯ: ร้านถ่ายเอกสารหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โรงเรียนเทพศิรินทร์. (2559). แผนปฏิบัติการประจำปี 2559. กรุงเทพฯ: ร้านถ่ายเอกสารหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โรงเรียนเทพศิรินทร์. (2560). รายงานประจำปี 2559. กรุงเทพฯ: ร้านถ่ายเอกสารหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โรงเรียนเทพศิรินทร์. (2560). แผนปฏิบัติการประจำปี 2560. กรุงเทพฯ: ร้านถ่ายเอกสารหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โรงเรียนเทพศิรินทร์. (2561). รายงานประจำปี 2560. กรุงเทพฯ: ร้านถ่ายเอกสารหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สนธิญา สุวรรณราช. (2552). การประยุกต์ใช้ต้นทุนฐานกิจกรรมในสถานศึกษาเอกชน: กรณีศึกษาโรงเรียนลำปางพาณิชยการและเทคโนโลยี. สารนิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง การกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาของเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไปยังคณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่ และสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2550.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

อานนท์ รักผล และคณะ. (2563). หลักธรรมาภิบาลสำหรับการบริหารงาน. Journal of Graduate Studies Review Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Phrae Campus. 6(1): 233-245.

อุมาพร เกยเลื่อน. (2555). การศึกษาต้นแบบการคำนวณต้นทุนการศึกษาโดยใช้ต้นทุนฐานกิจกรรมในสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน กรณีศึกษา โรงเรียนชุมแพบริหารธุรกิจเทคโนโลยี จังหวัดขอนแก่น. สารนิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี คณะการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Douglas T. Hicks. (1992). Activity-Based Costing for small and Mid-Sized Businesses. John Wiley & Sons, INC.

Fountaine, H. D. (2011). Activity-based costing in charter schools: facilitating systemic reform through better understanding of resource use. Doctoral dissertation, California State University, Northridge.

Peter B.B. Turney. (1993). Common Cents: The ABC Performance Breakthrough. Cost Technology. Portland, Oregon.