การประเมินความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ

Main Article Content

พงศธร ยุติธร
เพ็ญวรา ชูประวัติ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ผู้ให้ข้อมูล คือ บุคลากร จำนวน 85 คน ประกอบด้วย หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครู และผู้ช่วยครู/ผู้ดูแลเด็ก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) 0.67-1.00 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีวัดความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (PNImodified) ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M=3.89 และ 4.20 ตามลำดับ) และด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ด้านการบริหารจัดการบุคลากรทุกประเภท (PNImodified=0.112) รองลงมา คือ ด้านการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อความปลอดภัย (PNImodified=0.077) ด้านการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ (PNImodified=0.076) ด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน (PNImodified=0.071) และด้านการจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและการเรียนรู้ (PNImodified=0.063) ตามลำดับ นอกจากนี้ สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ เมื่อจำแนกตามกระบวนการบริหารจัดการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M=3.89 และ 4.20 ตามลำดับ) และกระบวนการบริหารจัดการที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ การประเมินผล (PNImodified=0.081) รองลงมา คือ การวางแผน (PNImodified=0.079) และการนำแผนสู่การปฏิบัติ (PNImodified=0.076) ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
ยุติธร พ., & ชูประวัติ เ. (2021). การประเมินความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(3), 254–269. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/257354
บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2560). มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559. ค้นเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2564, จาก http://www.dla.go.th/upload/ebook/column/2017/4/2199_5930.pdf

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2562). มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. ค้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2564, จาก http://www.dla.go.th/upload/document/type2/2019/3/21360_1_1551673939193.pdf?time=1599710969106

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). ผลการดำเนินการการคัดกรองพัฒนาการเด็กตามกลุ่มอายุ specialpp เขตสุขภาพที่ 4 ปีงบประมาณ 2563 เดือนมิถุนายน. ค้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2564, จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=1ed90bc32310b503b7ca9b32af425ae5&id=2238b7879f442749bd1804032119e824

ชนมณี ศิลานุกิจ และคณะ. (2563). รูปแบบการบริหารโรงเรียนโดยใช้วงจรคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 10(1): 43-58.

บุษกร สุขแสน. (2556). ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ.2562. (2562, 30 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนที่ 56 ก, หน้า 5-16.

พีรพัฒน์ มุมอ่อน. (2557). เอกสารการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15. 50 ปี มข. แห่งการอุทิศเพื่อสังคม. ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เยาวภา เดชะคุปต์. (2542). การบริหารและการนิเทศการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ: แม็ค.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก, หน้า 1-90.

ศิริดาว โพธิ์สิงห์. (2562). การพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการตามเกณฑ์มาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศุภกาญจน์ เสมียนรัมย์. (2559). การพัฒนาระบบการบริหารงานบุคคลระดับปฐมวัยในสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (ม.ป.ป.). ผลการประเมินคุณภาพภายนอก. ค้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2564, จาก http://aqa.onesqa.or.th/SummaryReport.aspx

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). รายงานผลการติดตามการดำเนินงานตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2562. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุนีย์ บันโนะ. (2561). ความต้องการจำเป็นของการบริหารโรงเรียนในการเสริมสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองโลกของนักเรียนตามแนวคิดการพัฒนาทั้งโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา, 1(1): 1-22.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Best, J. W. (1981). Research in Education. 4th ed. NJ: Prentice Hall.

Newby, T. J., Stepich, D. A., Lehman, J. D., & Russell, J. D. (2000). Educational Technology for Teaching and Learning. 2nd ed. Upper Saddle River, NJ: Merrill.