ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนกวดวิชาในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดการศึกษาแบบเรียนรวม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารวิชาการของโรงเรียนกวดวิชาในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดการศึกษาแบบเรียนรวม โดยใช้กรอบการบริหารวิชาการร่วมกับกรอบการศึกษาแบบเรียนรวม ผู้ให้ข้อมูลได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โรงเรียนกวดวิชาในกรุงเทพมหานคร จำนวน 55 โรงเรียน แบ่งเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 52 คน ครู จำนวน 59 คน และนักเรียน จำนวน 93 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 204 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความครอบคลุมและความเหมาะสม (The Index of Item-Objective Congruence: IOC) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการของโรงเรียนกวดวิชาในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดการศึกษาแบบเรียนรวม โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การพัฒนาหลักสูตร ส่วนสภาพอันพึงประสงค์ของการบริหารวิชาการของโรงเรียนกวดวิชาในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดการศึกษาแบบเรียนรวม โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การจัดการเรียนรู้ ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นในการบริหารวิชาการของโรงเรียนกวดวิชาในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดการศึกษาแบบเรียนรวม ด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การวัดและประเมินผล (PNImodified=0.513) และด้านที่มีความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด คือ การพัฒนาหลักสูตร (PNImodified=0.414)
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). ระเบียนการกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานโรงเรียนเอกชนประเภทกวดวิชา พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
กาญจนา ไชยพันธุ์. (2544). แนวคิดจิตวิทยาของโรเจอร์กับการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. วารสารวิชาการ. 4(พฤษภาคม 2544): 6-8.
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2551). การวิเคราะห์การศึกษาเชิงวิพากษ์: พื้นฐานการศึกษาด้านประเด็นวิกฤตทางศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนที่จัดตามนโยบายของรัฐบาล โดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 (สำนักงานปฏิรูปการศึกษา (องค์การมหาชน), 2553).
Nova Scotia Department of Education. (2019). Education Facts 2000-2001. Retrieved on December 8th 2019, from www.ednet.as.ca/