การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลตามความคิดเห็นของบุคลากรในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

อัญชลี เหลืองศรีชัย
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลตามความคิดเห็นของบุคลากรในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดปทุมธานี 2) เปรียบเทียบการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลตามความคิดเห็นของบุคลากรในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดปทุมธานี จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน และประสบการณ์การทำงาน และ 3) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดปทุมธานี จำนวน 195 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า


1) ระดับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของบุคลากรในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดปทุมธานี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=3.98, SD=0.26) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านเทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้ (ค่าเฉลี่ย=4.36, SD=0.40) รองลงมา คือ ด้านการสร้างและถ่ายโอนความรู้ ด้านมุ่งเน้นคุณภาพ ด้านโครงสร้างที่เหมาะสม ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม ด้านการทำงานเป็นทีมและมีเครือข่าย ด้านวัฒนธรรมการเรียนรู้ในองค์กร ด้านบรรยากาศที่เกื้อหนุน ด้านการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ด้านกลยุทธ์ และด้านการเพิ่มอำนาจและความรับผิดชอบในงาน 2) ผลการเปรียบเทียบในภาพรวม พบว่า บุคลากรที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลไม่แตกต่างกัน สำหรับอายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน และประสบการณ์การทำงานต่างกัน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) แนวทางส่งเสริมการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ คือ ผู้บริหารควรส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบอินเทอร์เน็ตต้องรวดเร็ว ควรจัดกิจกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างแรงจูงใจในการทำงาน ควรกำหนดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

Article Details

How to Cite
เหลืองศรีชัย อ., & เพชรโรจน์ ล. (2021). การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลตามความคิดเห็นของบุคลากรในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดปทุมธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(2), 170–186. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/254804
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2562). นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

จุฑาพร บุญวรรณ. (2553). การพัฒนารูปแบบความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในวิทยาลัยเทคนิค. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นฤมล จันทร์สุข. (2556). รูปแบบและกลยุทธ์การพัฒนาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของวิทยาลัยพยาบาล. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นุช อนิวรรตน์. (2551). การศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังของการพัฒนาองค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ สํานักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล (สวป.) มหาวิทยาลัยรามคําแหง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

ประยูร อิ่มสวาสดิ์. (2552). ลักษณะความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยบูรพา. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปราณี ตันประยูร. (2560). ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7(2), 35-44.

พนานันท์ โกศินานนท์. (2551). แนวทางการพัฒนาวิทยาลัยราชพฤกษ์สู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

ภัทรวดี ศรีนวล และ สถาพร ถาวรอธิวาสน์. (2554). ความคิดเห็นต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีชัยนาท และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 5(1): 17-24.

ภัสราภรณ์ อยู่มาก และ โชติมา แก้วกอง. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2561). มาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ.2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดปทุมธานี. (2561). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาสถานศึกษา. รายงานการประชุมจัดทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนาสถานศึกษา. ปทุมธานี: วิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี.

อภิชชยา บุญเจริญ. (2556). อิทธิพลของวัฒนธรรมองค์กรต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อารยา บวรพาณิชย์. (2553). ความคิดเห็นของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Kaiser, S. M. (2000). Mapping the Learning Organization: Exploring A Model of Organizational Learning. Dissertation for the Degree of Doctor of Philosophy, Louisiana State University.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3): 607-610.

Marquardt, M. J. & Reynolds, A. (1994). The global learning organization. New York: Irwin.