ทักษะทางวิชาชีพและมาตรฐานในการปฏิบัติงานของนักบัญชีที่มีผลกระทบต่อคุณภาพรายงานงบการเงิน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ของทักษะทางวิชาชีพในการปฏิบัติงานของนักบัญชีที่มีผลกระทบต่อคุณภาพรายงานงบการเงิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เจ้าของ ผู้นำองค์กร หรือผู้บริหารของสำนักงานบัญชีที่เป็นตัวแทนได้รับอนุญาตจากกรมสรรพากร จำนวน 97 บริษัท ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา โดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติอนุมาน คือ วิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ
ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพรายงานงบการเงินในภาพรวม มีความสัมพันธ์กับทักษะทางวิชาชีพ ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ทักษะด้านปัญญา ทักษะด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและการสื่อสาร ทักษะด้านการจัดการบุคคล และทักษะด้านการจัดการองค์กร มีความสัมพันธ์กับมาตรฐานการปฏิบัติงาน ทั้ง 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการประกอบอาชีพให้สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพและมาตรฐานทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง ด้านความระมัดระวังรอบคอบในส่วนคุณภาพรายงานงบการเงินในแต่ละด้าน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความเข้าใจได้ ด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ด้านความเชื่อถือได้ และด้านการเปรียบเทียบกันได้ มีความสัมพันธ์กับทักษะทางวิชาชีพ ทั้ง 4 ด้าน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ทั้ง 2 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การวิเคราะห์ถดถอยพหุระหว่างทักษะทางวิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน ต่อคุณภาพรายงานงบการเงินในภาพรวม (quality) พบว่า สมการถดถอยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
References
คำรณ โชธนะโชติ. (2560). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของมหาวิทยาลัยมหิดล. Journal of Professional Routine to Research, 4, August 2017: 67-75
ฐิติรัตน์ มีมาก และ รติกร บุญสวาท. (2558). สภาพแวดล้อมในการทำงาน และความรู้ความสามารถของนักบัญชีที่ส่งผลต่อคุณภาพรายงานการเงินของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), 21(1), 127-140.
ดุษณี สิกพันธ์ และ ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์. (2559). ทักษะการปฏิบัติงานที่มีต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของผู้ทำบัญชีในกรุงเทพมหานคร. การประชุมทางวิชาการ ระดับชาติประจำปี 2559. (หน้า 272-281). ปทุมธานี: วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยสาสน์.
บุญช่วง ศรีธรราษฎร์. (2561). ผลกระทบของความชำนาญในวิชาชีพบัญชีที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีบริษัทกลุ่มร้อยแก่นสารสินธุ์. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัย
ราชภัฏเชียงราย, 13(2): 103-124.
บุญรวย นะเป๋า. (2556). สมรรถนะตามหลักมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีกับประสิทธิภาพในการทำงาน: กรณีศึกษา นักบัญชีธุรกิจ SMEs ในจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ วิทยาลัยราชพฤกษ์, 2(2): 1-9.
ปริยากร ปริโยทัย และ สุภัทรษร ทวีจันทร์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะทางวิชาชีพบัญชีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักบัญชีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในประเทศไทย. Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences, 1(2): 8-20.
Anderson, U. and W. F. Wright. (1988). Expertise and the Explanation Effect. Organizational Behavior and Human Decision Processes. 42(2) October: 250-269.
David Mcpeak, Karen V.Pincus and Gary L.Sundem. (2012). The International Accounting Education Standards Board: Influencing Global Accounting Education. Retrieved on 21th February 2019, from https://www.aaajournals.org/doi/abs/10.2308/iace-50121
Houcine. A. (2017). The effect of financial reporting quality on corporate investment efficiency: Evidence from the Tunisian stock market. Research in International Business and Finance, 42: 321-337.
Yamane. T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row Publication.