ต้นทุนและผลตอบแทนในการลงทุนปลูกข้าวหอมมะลิของเกษตรกร อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาต้นทุนในการลงทุนปลูกข้าวหอมมะลิ 2) ศึกษาผลตอบแทนจากการลงทุนปลูกข้าวหอมมะลิของเกษตรกรอำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกร จำนวน 80 ราย โดยใช้วิธีการสุ่มแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น ประเภทการสุ่มแบบบังเอิญ โดยเก็บข้อมูลของฤดูกาลเพาะปลูกระหว่างเดือนพฤษภาคม–กันยายน 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ต้นทุน กำไรสุทธิ อัตรากำไรสุทธิต่อต้นทุน อัตรากำไรสุทธิต่อยอดขาย อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) และจุดคุ้มทุน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ต้นทุนในการปลูกข้าวหอมมะลิ เฉลี่ยเท่ากับ 4,012.18 บาทต่อไร่ มีกำไรสุทธิจากการปลูกข้าวเฉลี่ย 1,092.13 บาทต่อไร่ อัตรากำไรสุทธิต่อต้นทุนร้อยละ 27.22 อัตรากำไรสุทธิต่อยอดขายร้อยละ 21.40 2) อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ร้อยละ 22.59 และมีจุดคุ้มทุนอยู่ที่ 0.27 ตันต่อไร่ ต้นทุนการปลูกข้าวหอมมะลิ ประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่ ต้นทุนค่าวัตถุดิบ ร้อยละ 12.44 ต้นทุนค่าแรงงาน ร้อยละ 36.32 และต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิต ร้อยละ 51.24
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
ทรงวิทย์ เจริญกิจธนลาภ. (2560). การบัญชีต้นทุน. พิมพ์ครั้งที่ 4. สระบุรี: พิชิต.
ปฐมพงค์ กุกแก้ว. (2562). Cost and Return on Investment from rice RD41 Farming of the Farmers in Samchuk District, Suphanburi Province, Thailand. IISES International Academic Conference. Copenhagen.
ประสิทธิ์ สมประสงค์, กำนันอำเภอสามชุก. (2562). สัมภาษณ์, 27 มกราคม 2563.
ปิยราช เตชะสืบ. (2557). ต้นทุนและผลตอบแทนของการลงทุนโครงการปลูกผักกุยช่ายปลอดสารพิษเพื่อการค้าในจังหวัดลำปาง. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเนชั่น.
พิรานันท์ ยาวิชัย และคณะ. (2561). ต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกข้าวพันธุ์ กข15 ของเกษตรกรในเขต หมู่บ้านโป่งศรีนคร ตำบลโรงช้าง อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 10(1): 7 – 24.
ศศิวิมล มีอำพล. (2550). การบัญชีเพื่อการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: บริษัท อินโฟไมนิ่ง จำกัด.
สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย. (2562). ผลผลิตข้าว. ค้นเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://www.thairiceexporters.or.th/production.htm
สยามคูโบต้า. (2559). ข้าวหอมมะลิ. ค้นเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563, จาก https://www.kubotasolutions.com/knowledge/rice/detail/37
สำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี. (2562). พื้นที่เพาะปลูกข้าว. ค้นเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://www.suphanburi.doae.go.th/Data(agri)2.html
สำนักงานจังหวัดสุพรรณบุรี. (2562). พื้นที่เพาะปลูกข้าว. ค้นเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://ww1.suphanburi.go.th/files/com_strategic/2018-10_597c0722365dfc4.pdf
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2562). สถิติการส่งออกข้าวหอมมะลิ ตั้งแต่ปี 2561 ถึง 2562. ค้นเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://impexp.oae.go.th/workflow/export_report.php
สุขใจ ตอนปัญญา. (2554). ต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกข้าวของเกษตรกร หมู่ที่ 5 ตำบลหัวดง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
Jones, Kumen H., Werner,Michael L., Terrell, Katherne P., & Terrell, Robert L. (2000). Contrasting financial and management accounting: Introduction to management accounting a user perspective. New Jersey: Prentice Hall.
Maher, Michael W., Stickney, Clyde P., & Well, Roman L. (2001). Managerial accounting. Boston: Harcourt.