อิทธิพลของรูปแบบการดำเนินชีวิตและค่านิยมที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชันวาย จังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

เศรษฐวิฐฬ์ คงกะพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของรูปแบบการดำเนินชีวิตและค่านิยมที่ส่งต่อการตัดสินใจซื้อ สินค้าซื้อร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชันวาย จังหวัดภูเก็ต เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรเป็นผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชันวาย จำนวน 430 ตัวอย่าง โดยสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิและคัดเลือกแบบตามความสะดวก ใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการดำเนินชีวิต โดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับคะแนนเฉลี่ย ได้แก่ ด้านความสนใจ ด้านความคิดเห็นและด้านกิจกรรม ตามลำดับ ด้านค่านิยม โดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก การตัดสินใจซื้อโดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับคะแนนเฉลี่ย ได้แก่ ความรู้สึกหลังการซื้อ ค้นหาข้อมูล ประเมินทางเลือก ตัดสินใจ และรับรู้ปัญหา ตามลำดับ 2) อิทธิพลของรูปแบบการดำเนินชีวิตด้านกิจกรรม ด้านความคิดเห็น และค่านิยม ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อโดยรวมของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชันวาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยเรียงลำดับตามค่าน้ำหนักของผลกระทบ ได้แก่ ค่านิยม (β=.466) กิจกรรม (β=.293) และความคิดเห็น (β=.174) ตามลำดับ และตัวแปรอิสระดังกล่าว สามารถอธิบายความผันแปรการตัดสินใจซื้อโดยรวม ได้ร้อยละ 37.1

Article Details

How to Cite
คงกะพันธ์ เ. . (2021). อิทธิพลของรูปแบบการดำเนินชีวิตและค่านิยมที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชันวาย จังหวัดภูเก็ต. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(1), 30–43. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/251639
บท
บทความวิจัย

References

กฤษณ์ ทัพจุฬา. (2557). ความสำเร็จของธุรกิจร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 3(2): 108-119.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2557). การใช้ SPSS for windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: สามลดา.

ชลวิกา อาจองค์. (2555). รูปแบบการดำเนินชีวิต และการรับรู้ในตราสินค้าที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อสมาร์ทโฟนยี่ห้อไอโฟนของผู้บริโภคในเขตจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารธุรกิจสำหรับผู้บริหาร วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ธัญชนก สุขแสง. (2558). ค่านิยมและอิทธิพลจากบุคคลที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจศัลยกรรมความงาม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

นพจกรณ์ สายะโสภณ และ พัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล. (2561). กลุ่มอ้างอิงและรูปแบบการดำเนินชีวิตที่ส่งผลต่อรูปแบบการตัดสินใจซื้อเครื่องแต่งกายแนวสปอร์ตของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชันวายในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 5(2), 70-82.

นภาภรณ์ พุ่มชัย. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในเขตหนองแขม จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสยาม.

ปฏิกร ทิพย์เลอเลิศ. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ อสินค้าของผู้บริโภคจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ในจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหา
บัณฑิต. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพค์รั้งที่ 7. สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วชรวิช รามอินทรา. (2561). ธุรกิจค้าส่งค้าปลีกภูธร “ปรับตัว เพื่ออยู่รอด”: กรณีศึกษาธุรกิจค้าส่งค้าปลีกในภาคใต้. สำนักภาคใต้, ธนาคารแห่งประเทศไทย.

เศรษฐวิฐฬ์ คงกะพันธ์. (2557). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อที่ส่งผลต่อรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดภูเก็ต. รางานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ศูนย์ภูเก็ต.

สำนักงานสถิติจังหวัดภูเก็ต. (2559). ประชากรจากการทะเบียน จำแนกตามหมวดอายุเป็นรายอำเภอ พ.ศ.2559. ค้นเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2560, จาก http://phuket.nso.go.th/ images/new/interest_stat/provincial_stat_report/2560/chapter1_60.pdf.

เสริมพร อลงกตกิตติคุณ. (2560). อิทธิพลของค่านิยมทางสังคม ความพึงพอใจ และความไว้เนื้อเชื่อใจมีต่อการซื้อสินค้าตราซาร่าซ้ำของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Assael. H. (1995). Consumer Behavior and Marketing Action. 5th ed. Ohio: South Western.

Black, K. (2006). Business Statistics for Contemporary Decision Making. 4th ed. New York: John Wiley & Sons.

Engel, James F., Blackwell, Roger D. and Miniard, Paul W. (1993). Consumer Behavior. 7th ed. Fort Worth: Dryden Press, Inc. Miniard Paul W.

Hair, J. F., Jr., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2006). Multivariate Data Analysis. 6th ed. New Jersey: Prentice Hall.

Howe, N. & Strauss, W. (2000). Millennial Rising: The Next Great Generation. New York: Random House.

Kotler P. and Keller K.L. (2012). Marketing Management. 14th ed. London: Pearson education lnc.

Reeder, W. (1971). Patial theories from the 25 year research program on directive factor in Believer and social action. New York: Mcgraw hill.

Reisenwitz, T. H. & Lyer, R. (2009). Differences in generation X and generation Y: Implications for the organization and marketers, The Marketing Management Journal, 19(2): 91-103.

Wong, M., Gardiner, E., Lang, W. and Coulon, L. (2008). Generational differences in personality and motivation: Do they exist and what are the implications for the workplace, Journal of Managerial Psychology, 23(8): 878-90.