ความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อคุณภาพการให้บริการของรถโพถ้องในจังหวัดภูเก็ต

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ราตรีญา ธีรภัทร์ตระกูล

摘要

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อคุณภาพการให้บริการของรถโพถ้องในจังหวัดภูเก็ต และเปรียบเทียบความคาดหวังและการรับรู้ต่อการให้บริการของรถโพถ้องในจังหวัดภูเก็ตของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ใช้บริการรถโพถ้องในจังหวัดภูเก็ตจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว


ผลการวิจัย พบว่า ระดับความคาดหวังของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อคุณภาพการให้บริการของรถโพถ้องในจังหวัดภูเก็ตนั้น ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนระดับการรับรู้ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อคุณภาพการให้บริการของรถโพถ้องในจังหวัดภูเก็ตนั้น ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และลำดับสุดท้าย คือ ด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจได้ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีอายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกันมีระดับความคาดหวังต่อคุณภาพการให้บริการของรถโพถ้องในจังหวัดภูเก็ตโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านเพศและสัญชาติต่างกันมีระดับความคาดหวังต่อคุณภาพการให้บริการของรถโพถ้องในจังหวัดภูเก็ต โดยรวมไม่แตกต่างกัน นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีเพศ สถานภาพการสมรส และอาชีพต่างกัน มีระดับการรับรู้ต่อคุณภาพการให้บริการของรถโพถ้องในจังหวัดภูเก็ต โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านอายุ สัญชาติ และระดับการศึกษาต่างกัน มีระดับการรับรู้ต่อคุณภาพการให้บริการของรถโพถ้องในจังหวัดภูเก็ต โดยรวมไม่แตกต่างกัน

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

##submission.howToCite##
ธีรภัทร์ตระกูล ร. (2020). ความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อคุณภาพการให้บริการของรถโพถ้องในจังหวัดภูเก็ต. Journal of Humanities and Social Sciences, Rajapruk University, 6(3), 209–221. 取读于 从 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/248941
栏目
Articles

参考

กนิฏฐา เกิดฤทธิ์. (2560). พฤติกรรมและความต้องการในการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะของนักท่องเที่ยว ชาวญี่ปุ่น. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

กรรณิการ์ แสงสุริศรี. (2546). ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ใช้บริการรถตู้โดยสารร่วมบริการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.): กรณีศึกษาบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ. สารนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การตลาด) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2546). การตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2556). การขนส่งเพื่อการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

บุษบง พาณิชผล. (2555). ความพึงพอใจในการใช้บริการรถแอร์พอทเรียวลิงค์ กรณี ศึกษา: การรถไฟแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทางวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ประเสริฐศักดิ์ บัวเลิศ. (2557). แนวทางพัฒนาการจัดบริการรถโดยสารสาธารณะโพถ้องขององค์การ บริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

ศิณวิชญ์ เรืองขํา. (2560). ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ใช้บริการรถตู้โดยสารเส้นทางกรุงเทพฯ (เอกมัย)-บางแสน. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมยศ วัฒนากมลชัย. (2554). การขนส่งเพื่อการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สำนักงานสถิติจังหวัดภูเก็ต. (2560). ค้นเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2560, จาก www.phuket.nso.go.th

สุเมธี เจริญธรรม และ ปรเมศวร์ เหลือเทพ. (2559). การศึกษาการให้บริการรถโดยสารประจำทางสาธารณะ กรณีศึกษาเมืองภูเก็ต. ค้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2561, จาก www.atransociety.com

สุริยะ บุตรไธสงค์. (2558). การรับรู้และความคาดหวังของผู้รับบริการที่มีต่อคุณภาพการให้บริการรถตู้โดยสารสาธารณะในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย. วารสารธุรกิจปริทัศน์. 7(1): 7-30.

อรรธิกา พังงา. (2553). การจัดการและการปฏิบัติงานส่วนหน้า. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

อัศวิน แสงพิกุล. (2556). ระเบียบวิธีวิจัยด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Parasuraman A, Zeithaml V.A. & Berry L.L. (1990). Delivering quality service: Balancing customer perceptions and exceptions. New York: The free press.