องค์ประกอบเชิงยืนยันจิตสาธารณะของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

Main Article Content

ปัญญดา จันทกิจ
ชุมพล รอดแจ่ม
ไปรยา อาสิงสมานันท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพจิตสาธารณะของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) ศึกษาองค์ประกอบจิตสาธารณะของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ และ 3) ประเมินองค์ประกอบจิตสาธารณะของนักศึกษาระระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยใช้สถิติวิเคราะห์องค์ประกอบ ประเภทการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงยืนยัน พบว่า มีองค์ประกอบจิตสาธารณะประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความรับผิดชอบ 2) ด้านหลักคุณธรรมจริยธรรม 3) ด้านการเข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม 4) ด้านจิตสำนึกต่อส่วนรวม และ 5) ด้านการเป็นพลเมืองดี และผลการประเมินองค์ประกอบจิตสาธารณะ พบว่า การเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของจิตสาธารณะทั้ง 5 ด้าน ของนักศึกษาหลังจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันมีระดับความคิดเห็นเฉลี่ยทั้ง 5 ด้าน เท่ากับ 4.61 และระดับค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ทั้ง 5 ด้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.58 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และระดับความคงทนของข้อมูลหลังจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันมีค่าสูงกว่าก่อนการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ซึ่งแสดงว่าองค์ประกอบเชิงยืนยันดังกล่าวมีค่าที่ยอมรับได้

Article Details

How to Cite
จันทกิจ ป., รอดแจ่ม ช., & อาสิงสมานันท์ ไ. (2020). องค์ประกอบเชิงยืนยันจิตสาธารณะของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 6(2), 97–110. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/246219
บท
บทความวิจัย

References

กรรยา พรรณา. (2559). จิตสาธารณะ...สร้างได้ง่ายนิดเดียว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). สถิติสำหรับงานวิจัย: หลักการเลือกใช้เทคนิคทางสถิติในงานวิจัย พร้อมทั้งอธิบายผลลัพธ์ที่ได้จาก SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2558). แนวทางการสร้างจิตสาธารณะในสังคมไทย. ค้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2561, จาก www.timebanksociety.org.

จุฑามาศ ทันธิกุล และ ชลภัสสรณ์ สิทธิวรงค์ชัย. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กรของบริษัท การ์เมนท์ จำกัด. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. ปีที่ 2 มกราคม-ธันวาคม 2560: 54-66.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2555). สอนเด็กให้มีจิตสาธารณะ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ วี พรินท์ (1991).

ชุมพล รอดแจ่ม และ รุ่งระวี มังสิงห์. (2562). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันสมรรถนะของนักบัญชีตามคุณลักษณะนักบัญชีที่พึงประสงค์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 5(1) กุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2562: 29-44.

นวลละออ แสงสุข. (2553). จิตสำนึกสาธารณะในเยาวชน: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารมหาวิทยาลัยรามคำแหง, ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 13: 10-27.

พระไพศาล วิสาโล. (2551). รุ่งอรุณที่สุคะโต. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กรีน พริ้นท์.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และ นักรบ หมี้แสน. (2560). ครุศึกษาและการพัฒนาวิชาชีพครู. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัทรภร สีทองดี. (2559). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมจิตสาธารณะของนิสิตในสถาบัน อุดมศึกษาของรัฐ: กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปรัชญาดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิทยพัฒนท สีหา. (2551). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับจิตสาธารณะของนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมพล เข็มกำเนิด. (2556). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมผู้นำเยาวชนเพชรบูรพาเสริมสร้างจิตสาธารณะ. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). จำนวนนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏ. ค้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2562, จาก http://www.mua.go.th/index2.html.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ.2555-2559. ค้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2562, จาก https:// www.nesdb.go.th /ewt_news.php?nid=5748.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554). พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. ค้นเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2560, จาก http://www.royin.go.th/dictionary/.

สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์. (2560). ทักษะชีวิตและสังคม. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สุทธิวรรณ เปรี่ยมพิมาย ภัทรวรรธน์ จีรพัฒน์ธนธร และ สุวรรณา นาควิบูลย์. (2561). จิตสาธารณะผู้เรียนอาชีวศึกษา: แนวทางการพัฒนาในบริบทความเป็นพลเมืองโลก. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(1) มกราคม-เมษายน 2561: 364-380.

สุวิมล ติรกานันท์. (2556). สถิติและการวิจัยทางการศึกษาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อนุพนธ์ คำปัน และคณะ. (2558). การศึกษาองค์ประกอบของจิตสาธารณะของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18: 303-304.

อ้อมใจ วงษ์มณฑา. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตสาธารณของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขปัตตานี สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลป์ยาณิวัฒนา.

Bloom, B.S. (1956). Taxonomy of Educational Objectives, Handbook: The Cognitive Domain. New York: David McKay.

Piaget, J. (1960). The Moral Judgment of the Child. Illinois: The Free Press.

Piaget, J. (1969). The Intellectual Development of the Adolescent. In G.

Kohlberg, L. (1976). Moral stage and moralization: the cognitive Developmental approach. In Lickona (ed.), Moral development and behavior: theory, research, and social issues. New York: Holt, Rinehart, and Winson: 31-53.

Timothy J. Clark. (1991). Success Through Quality. Milwaukee, Wisconsin: ASQ: Quality Press.

UNICEF Thailand. (2019). พัฒนาเยาวชนให้พร้อมรับมือกับอนาคตได้อย่างมั่นใจ. ค้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2562, จาก https://www.unicef.org.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row Publications.