ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวน กองบัญชาการ ตำรวจนครบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

Main Article Content

ร้อยตำรวจเอกมนตรี คำขาว
วิชิต บุญสนอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ พนักงานสอบสวน กองบังคับการตำรวจนครบาล 1-9 กองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำนวน 315 นาย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)


ผลการวิจัย พบว่า ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยแบ่งการศึกษาเป็น 3 ด้าน คือ ด้านภาระงานที่ได้รับมอบหมาย ด้านกระบวนการในการทำงาน และด้านผลลัพธ์ที่ได้จากการปฏิบัติงาน และผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ด้านเพศ อายุ มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านระดับการศึกษา และสังกัดมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
คำขาว ร., & บุญสนอง ว. (2020). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวน กองบัญชาการ ตำรวจนครบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 6(2), 73–84. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/246217
บท
บทความวิจัย

References

กองบัญชาการตำรวจนครบาล. (2558). กองบัญชาการตำรวจนครบาล. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.

กันตยา เพิ่มผล. (2541). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทํางาน Efficiency development. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

จตุพล พยัฆทา. (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารการพยาบาลของผู้บริหารระดับต้น กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ศูนย์ข้อมูลการวิจัย วช.

จักรทิพย์ กุญชร ณ อยุธยา. (2532). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานในหน้าที่พนักงานสอบสวนของรองสารวัตร ศึกษาเฉพาะกรณีในเขตกองกำกับการตำรวจนครบาล 3. เอกสารวิจัยการอบรมหลักสูตรผู้กำกับการ รุ่นที่ 15. สถาบันพัฒนาข้าราชการตำรวจ กองบัญชาการศึกษา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.

ปริศนา พิมพา. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสารคาม.

วัชระ แสงหิรัญ. (2551). ความคิดเห็นที่เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรในสังกัดตำรวจภูธรกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วุฒิชาติ เลื่อนสุคันธ์. (2542). ขวัญในการปฏิบัติงานของตำรวจตระเวนชายแดนชั้นประทวนและพลตำรวจกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 13. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). การวิจัยธุรกิจ. กรุงเทพฯ: เพชรจรัสแสงแห่งโลกธุรกิจ.

Becker, S., & Neuhauser, D. (1975). The Efficient Organization. New York: Elsevier Scientific.

Krejcie, R.V.& Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607-610.

Millet, John D. (1954). Management in the Public Ryan. T.A. and Smith, P.C. 1954. Principle of Industrial.