ความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อคุณภาพการให้บริการของรถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง (Tuk Tuk) ในจังหวัดภูเก็ต

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

วัชรินทร์ เกิดทรัพย์

摘要

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคาดหวังของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อคุณภาพการให้บริการของรถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง 2) ศึกษาระดับการรับรู้ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อคุณภาพการให้บริการของรถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง และ 3) เปรียบเทียบความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อคุณภาพการให้บริการของรถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้างในจังหวัดภูเก็ต กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จำนวน 384 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test)


ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความคาดหวังของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อคุณภาพการให้บริการของรถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.53, SD = 0.71) ในด้านความน่าเชื่อถือหรือไว้วางใจได้ ด้านการได้รับความเชื่อมั่นต่อบริการ ด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ ตามลำดับ 2) ระดับการรับรู้ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อคุณภาพการให้บริการของรถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.81, SD = 0.61) ในด้านความน่าเชื่อถือหรือไว้วางใจได้ ด้านการเข้าใจและเห็นใจผู้รับบริการ ด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ ตามลำดับ 3) ผลการเปรียบเทียบความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อคุณภาพการให้บริการของรถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้างมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่าโดยภาพรวมนักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการของรถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการและด้านความเข้าใจและเห็นใจผู้รับบริการ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กล่าวคือนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมีการรับรู้มากกว่าความคาดหวัง แสดงให้เห็นว่านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมีความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการในด้านดังกล่าวของรถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

##submission.howToCite##
เกิดทรัพย์ ว. (2019). ความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อคุณภาพการให้บริการของรถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง (Tuk Tuk) ในจังหวัดภูเก็ต. Journal of Humanities and Social Sciences, Rajapruk University, 5(2), 148–164. 取读于 从 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/220538
栏目
Articles

参考

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). ททท. เปิดตัวโครงการ A TOUCH OF THAI VEHICLES เส้นทางสร้างสรรค์เที่ยววิถีไทยท่องวิถีถิ่น. ค้นเมื่อ 1 เมษายน 2559, จาก https://thai.tourismthailand.org.

เขมณัฎฐ์ อำนวยวรชัย และคณะ. (2559). ความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการบริการของผู้ใช้บริการการขนส่งสินค้าทางอากาศ ณ ท่าอากาศยานภูเก็ต. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 10(2): 158.

ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2550). ธุรกิจการบริการและการกำหนดกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2547). การปกครองส่วนท้องถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

นิติพล ภูตะโชติ. (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเลือกพักโรงแรมที่จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นิวภูเก็ตอินเด็กซ์. (2561). รถตุ๊กตุ๊ก ภูเก็ต. ค้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2561, จาก http://news.phuketindex.com.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2556). การขนส่งเพื่อการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: บริษัท ธรรมสาร จำกัด.

รัชนี หะยีวอ. (2554). การขนส่งผู้โดยสารด้วยรถยนต์. ค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2559, จาก ninaberry.blogspot.com/2011/01/02-4 html.

วัชรินทร์ เกิดทรัพย์. (2560). การตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในการเลือกใช้บริการที่พักในจังหวัดภูเก็ต. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

สายสมร สังข์เมฆ. (2559). การจัดทำบัญชีครัวเรือนของประชาชนในชุมชนเกาะยาวใหญ่จังหวัดพังงา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 1(3) ตุลาคม 2558 – มกราคม 2559.

Amnuayworachai K. and Others (2016). Expectations and perceptions of service quality for air freight service users at Phuket International Airport. Eastern Asia University Journal of Science and Technology, 10(2): 158. (in Thai)

Bordagaray, M., dell'Olio, L., Ibeas, A., & Cecín, P. (2013). Modeling user perception of bus transit quality considering user and service heterogeneity. Transportmetrica A: Transport Science. 1 - 17. doi:10.1080/23249935.2013.823579Nwaogbe, Ibe, and Ukaegbu (2012)

Borramanan, N. (2004). Local government. 3rd ed. Bangkok: Winyuchon. (in Thai)

Chaoprasert, C. (2007). Service business and strategy formulation. Bangkok: SE-EDUCATION. (in Thai)

Department of Tourism, Ministry of Tourism and Sports. (2016). TAT launched A TOUCH OF THAI VEHICLES project to create a way to explore Thai ways of life. (Online). Retrieved on 1st April 2016, from https://thai.tourismthailand.org. (in Thai)

Hayewor, R. (2011). Passenger transportation by car (Online). Retrieved on 18th July 2016, from ninaberry.blogspot.com/2011/01/02-4 html. (in Thai)

Jittongwattana, B. (2013). Transportation for tourism. Bangkok: Thammasarn Co., Ltd. (in Thai)

Keadsap, W. (2017). The selection decision of foreign tourists for the accommodation in Phuket province. Research report, Rajapruk University. (in Thai)

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3): 607 - 610.

News Phuket Index. (2018). Phuket Tuk Tuk. (Online). Retrieved on 21th March 2018. from http://news.phuketindex.com. (in Thai)

Nwaogbe, O. R., Ibe, C. C., & Ukaegbu, S. I. (2012). Quality of the Paratransit Service (Tricycle) and Its Operation in Aba, Nigeria: An Analysis of Customers’ Opinions. Journal of Transport and Supply Chain Management.

Parasuraman, A., Berry, L. L. & Zeithaml, V. A., (1991). Refinement and reassessment of the SERVQUAL scale. Journal of Retailing, 67(4): 420 - 450.

Phutachoti, N. (2008). Factors influencing Thai tourists in selecting hotels in Nong Khai province. Master's thesis, Khon Kaen University. (in Thai)

Sungmek, S. (2016). Public household accounting in Ko Yao Yai community, Phang Nga province. Journal of Humanities and Social Sciences of Rajapruk University. 1(3) October 2015 – January 2016. (in Thai)

Zeithamal, Parasuraman and Berry. (1990). Delivering quality service: Balancing customer perceptions and exceptions. New York.

Zeithamal, Parasuraman and Berry. (2013). A Conceptual Model of Service Quality and Its Implications for Future Research. Journal of Marketing. 49: 41 - 50.