การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแม่น้ำบางขาม จังหวัดลพบุรี

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

อานนท์ เท้งนาวี

摘要

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาในการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ศึกษาความคิดเห็นในการมีส่วนร่วมของชุมชนและแหล่งท่องเที่ยว และศึกษาแนวทางในการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แม่น้ำบางขาม จังหวัดลพบุรี โดยผลการวิจัยพบว่า ปัญหาในการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แม่น้ำบางขาม จังหวัดลพบุรี มาจากมีผักตบชวาขึ้นหนาแน่นทำให้กีดขวางเส้นทางสัญจรทางน้ำ เป็นสาเหตุทำให้น้ำเน่าเสีย ด้านความคิดเห็นในการมีส่วนร่วมของชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในเขตแม่น้ำบางขาม จังหวัดลพบุรี พบว่า ชาวบ้านในชุมชนใช้ประโยชน์ทางน้ำจากแม่น้ำบางขามในการอุปโภค บริโภค ทำการประมง แต่ในด้านของการพัฒนายังไม่ให้ความสำคัญและความสนใจเท่าที่ควรเนื่องจากขาดความมั่นใจว่าจะพัฒนาแม่น้ำบางขามแห่งนี้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจและเป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวได้ และในด้านแนวทางในการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แม่น้ำบางขาม จังหวัดลพบุรี พบว่า 1) ควรมีแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมที่มีหลากหลายนอกเหนือจากการล่องเรือเที่ยวแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรม 2) ภาครัฐควรส่งเสริม ในด้านงบประมาณ เครื่องจักร บุคลากรในด้านการพัฒนาส่งเสริมการท่องเที่ยวและมีนโยบายในการกำจัดผักตบชวาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง 3) ประชาชนควรให้ความร่วมมือและให้ความช่วยเหลือกับภาครัฐในการที่จะตอบสนองกับนโยบายของภาครัฐที่จะพัฒนาแม่น้ำให้เป็นเส้นทางท่องเที่ยววัฒนธรรม 4) ผู้นำชุมชนควรมีศูนย์กลางในการในการช่วยเหลือประชาชน ให้คำปรึกษาทั้งทางด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

栏目
Articles

参考

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2549). การพัฒนาและการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ ดีไซน์

ปรัชญาพร พัฒนผล. (2554). การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยววัฒนธรรมแม่น้ำเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรรณศิริ เดชะคุปต์ และ ปรีดี พิศภูมิวิถี. (2554). กรุงเก่า เล่าเรื่อง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2555). แม่น้ำบางขาม. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2561, จาก https://th. wikipedia.org/wiki/แม่น้ำบางขาม

สุเทพ สิงห์ฆาฬะ. (2560). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในมุมมองของผู้ประกอบการท่องเที่ยวและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 3(2): ค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2561, จาก https://www.tcithaijo.org/index.php/rpu/article/view/112615/87717

Cohen, J. M. and Uphoff. (1981). N.T. Rural Development Participation: Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies , Cornell University .

Dechakhup, W. and Phitphumwithi, P. (2011). Krung Kao Lao Ruang. Bangkok: Matichon Public Company Limited. (in Thai)

Jitangwattana, B. (2006). Tourism Resources Development and Reservation. Bangkok. (in Thai)

Pattanapon, P. (2011). The Development of Cultural Tourism Route along the Phetchaburi River. A thesis of the Degree of Master of Art Cultural Management college of Innovation , Thammasat University. (in Thai)

Singkhalah, S. (2017). Development of Sustainable Tourism at Kamala Sub-district and Kathu District, Phuket in Tourism Operators’ and Local Government Officer’ Perspective. Journal of Humanities and Social Sciences, Rajapruk University, 3(2): retrieved on June 28th, 2018 from https://www.tcithaijo.org/ index.php/rpu/article/view/112615/87717 (in Thai)

Wikipedia. (2012). Bangkham River. retrieved on January 10th, 2018 from https://th.wikipedia.org/wiki/แม่น้ำบางขาม (in Thai)